วันอังคารที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

การครอบครองปรปักษ์ที่ดิน

 29-02-2012

 

การครอบครองปรปักษ์



การครอบครองปรปักษ์ หมายถึง การที่บุคคลได้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินของผู้อื่นโดยการครอบครองตามบทบัญญัติ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๓๘๒ ซึ่งได้บัญญัติว่า “บุคคล ใดครอบครองทรัพย์สินของผู้อื่นไว้โดยสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ ถ้าเป็นอสังหาริมทรัพย์ได้ครอบครองติดต่อกันเป็นเวลาสิบปี ถ้าเป็นสังหาริมทรัพย์ได้ครอบครองติดต่อกันเป็นเวลาห้าปีไซร้ ท่านว่า บุคคลนั้นได้กรรมสิทธิ์” การที่บุคคลจะได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์จะต้องปรากฏว่า ทรัพย์สินนั้นเป็นทรัพย์สินของผู้อื่นที่เจ้าของจะต้องมีกรรมสิทธิ์ โดยเฉพาะที่ดิน ที่ดินที่จะได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์จะต้องเป็นที่ดินที่มีหลัก ฐานแสดงกรรมสิทธิ์ ได้แก่ โฉนดที่ดิน โฉนดแผนที่ โฉนดตราจอง ตราจองที่ตราว่า “ได้ทำประโยชน์แล้ว” ถ้าหากที่ดินนั้นเจ้าของมีเพียงสิทธิครอบครองเท่านั้น เช่น ที่ดินมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. ๓, น.ส. ๓ ก., น.ส. ๓ ข.) แม้ผู้นั้นจะครอบครองที่ดินดังกล่าวนานเพียงใดก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบ ครองปรปักษ์ แต่อย่างใด นอกจากนั้น การครอบครองดังกล่าวจะต้องเป็นการครอบครองโดยสงบ โดยเปิดเผยไม่มีการปิดบังอำพรางหรือซ่อนเร้นและมีเจตนาเป็นเจ้าของ ถ้าเป็นการครอบครองในฐานะผู้เช่า หรือผู้อาศัยไม่ได้ครอบครองโดยมีเจตนาเป็นเจ้าของก็ไม่เข้าองค์ประกอบที่จะ ได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ และการครอบครองปรปักษ์จะนำไปใช้แก่ทรัพย์สินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ไม่ได้ เพราะต้องห้ามตามมาตรา ๑๓๐๖ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ รวมทั้งจะนำไปใช้กับที่ธรณีสงฆ์หรือที่วัด ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ไม่ได้ด้วย
การจดทะเบียนได้มาโดยการครอบครองตามมาตรา ๑๓๘๒ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์นี้ถือว่าเป็นการได้กรรมสิทธิ์โดยผลของ กฎหมาย ซึ่งตามมาตรา ๑๒๙๙ วรรคสอง บัญญัติว่า ถ้ายังมิได้จดทะเบียนจะมีการเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนมิได้และจะยกขึ้นเป็นข้อ ต่อสู้บุคคลภายนอกผู้ได้สิทธิมาโดยเสียค่าตอบแทนและโดยสุจริต และได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตแล้วไม่ได้ เมื่อผู้ใดได้ครอบครองอสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่นเข้าตามหลักเกณฑ์ตามมาตรา ๑๓๘๒ และได้กรรมสิทธิ์แล้ว จึงจำเป็นต้องจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ตามนัยมาตรา ๑๒๙๙ วรรคสองนี้ แต่โดยที่ประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา ๗๘ และกฎกระทรวง ฉบับที่ ๗ (พ.ศ. ๒๔๙๗) ออกตามความในพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. ๒๔๙๗ ได้กำหนดหลักเกณฑ์การขอจดทะเบียนในกรณีนี้ไว้ว่า ผู้ได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์จะต้องยื่นคำขอพร้อมด้วยคำพิพากษาหรือคำสั่งอันถึง ที่สุดแสดงว่า ตนมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าวนั้น ดังนั้น ก่อนที่ผู้ได้กรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์โดยการครอบครองปรปักษ์จะมาขอจด ทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ผู้นั้นจะต้องยื่นคำร้องขอต่อศาลเพื่อให้ศาลมีคำสั่งแสดงว่าตนได้กรรมสิทธิ์ โดยการครอบครองตามมาตรา ๑๓๘๒ แล้วจึงนำคำสั่งหรือคำพิพากษาของศาลอันถึงที่สุดมาแสดงต่อพนักงานเจ้า หน้าที่ เพื่อขอจดทะเบียนลงชื่อตนเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ต่อไป
หลักฐานที่จะต้องนำมาแสดงต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ เพื่อขอจดทะเบียนประเภทได้มาโดยการครอบครองปรปักษ์ ได้แก่
  1. คำสั่งหรือคำพิพากษาอันถึงที่สุด ที่แสดงว่าผู้ขอได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครอง
  2. บัตรประจำตัว สำเนาทะเบียนบ้าน
  3. โฉนดที่ดินฉบับเจ้าของที่ดิน
กรณีไม่ได้โฉนดที่ดินมาจดทะเบียน กรณีผู้ขอไม่สามารถนำโฉนดที่ดินฉบับเจ้าของที่ดินมาแสดงต่อพนักงานเจ้า หน้าที่ได้ ตามข้อ ๑๗ (๓) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ ๔๓ (พ.ศ. ๒๕๓๗) ออกตามความในพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. ๒๔๙๗ ให้ถือว่าโฉนดที่ดินสูญหาย ให้เจ้าพนักงานที่ดินออกใบแทนโฉนดที่ดินแล้วดำเนินการจดทะเบียนตามควรแก่ กรณี ในกรณีนี้โฉนดที่ดินเดิมเป็นอันใช้ไม่ได้ต่อไป
ค่าใช้จ่ายในการจดทะเบียนประเภทได้มาโดยการครอบครอง
  1. ค่าคำขอแปลงละ ๕ บาท
  2. ค่าธรรมเนียมตามราคาประเมินของทางราชการ ร้อยละ ๒
  3. ค่าอากรแสตมป์ ไม่เสีย
  4. ค่าภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย ไม่อยู่ในบังคับที่ต้องเสีย ณ ที่จ่ายตอนจดทะเบียนได้มา ตามคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.๑๐๐/๒๕๔๓ ลงวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๔๓ ข้อ ๑๐ (๗) แต่อสังหาริมทรัพย์ที่ได้เป็นกรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์เป็นเงินได้ พึงประเมินตามมาตรา ๓๙ แห่งประมวลรัษฎากรของผู้ได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ ซึ่งจะต้องนำมาคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามปกติ
  5. ค่าภาษีธุรกิจเฉพาะ ไม่เสีย เนื่องจากการได้กรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์โดยการครอบครองปรปักษ์ ตามมาตรา ๑๓๘๒ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการขายตามมาตรา ๙๑/๑ (๔) แห่งประมวลรัษฎากร เจ้าของกรรมสิทธิ์เดิมจึงไม่ใช่ผู้ขายอสังหาริมทรัพย์ ทั้งนี้ ตามหนังสือกรมสรรพากร ด่วนที่สุด ที่ กค ๐๘๑๑/๐๐๐๘๑ ลงวันที่ ๖ มกราคม ๒๕๔๒ ข้อ ๑ (๓)
ค่าใช้จ่ายกรณีจดทะเบียนประเภทได้มาโดยการครอบครองแล้วจะจดทะเบียนขายอสังหาริมทรัพย์นั้นต่อไป ในขั้นตอนการจดทะเบียนขายต่อไปเสียค่าใช้จ่าย ดังนี้
  1. ค่าคำขอแปลงละ ๕ บาท
  2. ค่าธรรมเนียมตามราคาประเมินของทางราชการ ร้อยละ ๒
  3. ค่าอากรแสตมป์ใบรับ ร้อยละ ๐.๕ (๕๐ สตางค์) จากราคาประเมินของทางราชการหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่ผู้ขอแสดง แล้วแต่ราคาใดสูงกว่า
  4. ค่าภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หัก ณ ที่จ่าย เสียตามปกติโดยนับจำนวนปีถือครองตั้งแต่ปีที่ได้กรรมสิทธิ์ในอสังหาริม ทรัพย์ (ปีที่ได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครอง มิใช่ปีที่จดทะเบียนได้มา โดยการครอบครอง) จนถึงปีที่จดทะเบียนขายอสังหาริมทรัพย์ที่ได้มานั้นต่อไป (คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.๑๐๐/๒๕๔๓ ลงวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๔๓ ข้อ ๖
  5. ค่าภาษีธุรกิจเฉพาะ เสียหากอยู่ในหลักเกณฑ์ที่ต้องเสีย โดย “การนับระยะเวลาการได้มาในเรื่องของภาษีธุรกิจเฉพาะ ให้เริ่มนับระยะเวลาตั้งแต่วันที่ได้มาจนถึงวันโอนกรรมสิทธิ์ และ “วันที่ได้มา” ได้แก่วันที่จดทะเบียนรับโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์ (หนังสือกรมสรรพากร ด่วนที่สุด ที่ กค ๐๘๑๑/๐๐๐๘๑ ลงวันที่ ๖ มกราคม ๒๕๔๒) ดังนั้น เมื่อจดทะเบียนได้มาโดยการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ตามมาตรา ๑๓๘๒ แล้วจะขายอสังหาริมทรัพย์นั้นต่อไป การนับระยะเวลาการได้มาเพื่อพิจารณาว่าอยู่ในข่ายที่ต้องเสียภาษีธุรกิจ เฉพาะหรือไม่ จึงต้องเริ่มนับจากวันจดทะเบียนได้มาโดยการครอบครอง จนถึงวันจดทะเบียนขายอสังหาริมทรัพย์นั้นต่อไป มิใช่เริ่มนับแต่วันที่ได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์โดยการครอบครอง กรณีเสียภาษีธุรกิจเฉพาะแล้วได้รับยกเว้นอากรแสตมป์ใบรับข้างต้น

วิธีป้องกันการทุจริตหลอกลวงเกี่ยวกับที่ดิน

 29-02-2012

 

วิธีป้องกันการทุจริตหลอกลวงเกี่ยวกับที่ดิน




  1. เก็บรักษาโฉนด หรือหนังสือสำคัญของท่านไว้ในที่ปลอดภัยอย่าให้สูญหาย
  2. อย่าทำสัญญากู้ยืมเงินเอง โดยรับมอบโฉนดไว้เป็นประกันอาจเป็นโฉนดปลอม
  3. อย่าหลงเชื่อมอบโฉนดของท่านให้ผู้อื่นอาจถูกปลอมแปลงสับเปลี่ยนโฉนดได้
  4. อย่าเซ็นชื่อลงในหนังสือมอบอำนาจ โดยไม่กรอกข้อความเป็นอันขาด บุคคลผู้รับมอบอำนาจจะต้องเป็นบุคคลที่ไว้ใจได้
  5. ก่อนซื้อ รับจำนอง หรือรับซื้อฝากที่ดินควรตรวจสอบโฉนดที่ดินหรือหนังสือสำคัญของท่าน ที่ตั้งและสภาพที่ดินให้แน่นอนก่อน
  6. อย่าหลงเชื่อนายหน้าให้มากนัก
  7. การซื้อที่ดิน ควรซื้อจากผู้ที่ไว้วางใจได้ เช่น มีใบอนุญาตทางราชการให้ทำการจัดสรร
  8. หมั่นตรวจสอบที่ดินของท่านทั้งทางทะเบียนและที่ดิน
  9. การตรวจสอบหลักฐานทางทะเบียน ท่านสามารถสอบถามทางไปรษณีย์ไปยังสำนักงานที่ดินที่ที่ดินนั้นตั้งอยู่ได้
  10. ทำนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดินที่ชอบด้วยกฎหมายจะต้องมาจดทะเบียน ณ สำนักงานที่ดิน
  11. อย่าหลงเชื่อคำโฆษณา หรือนายหน้ามาชักจูง ควรตรวจที่ตั้งที่ดิน เช่น อยู่ใกล้หรือไกลถนนและสภาพที่ดินเป็นอย่างไรก่อนซื้อ
ทำอย่างไรที่ดินของท่านจึงจะปลอดภัยจากผู้ทุจริต
  1. ไม่มอบโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้แก่ผู้อื่น
  2. อย่าลงลายมือชื่อในหนังสือมอบอำนาจโดยไม่กรอกข้อความให้ครบถ้วน
  3. ควรไปติดต่อสอบถามเจ้าหน้าที่เกี่ยวกับที่ดินของท่านอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

การมอบอำนาจเกี่ยวกับที่ดิน

 29-02-2012

 

การมอบอำนาจ



การมอบอำนาจ คือ การที่บุคคลหนึ่งเรียกว่า ตัวการ มอบให้บุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่า ตัวแทน มีอำนาจทำการแทนและการกระทำนั้นมีผลทาง กฎหมายเสมือนว่าตัวการทำด้วยตนเอง
การมอบอำนาจให้ทำกิจการใด ที่กฎหมายกำหนดว่าต้องทำเป็นหนังสือการมอบอำนาจให้ทำกิจการนั้น ก็ต้องทำเป็นหนังสือ เช่น การซื้อขายที่ดินกฎหมายกำหนดว่าต้องทำเป็นหนังสือ ฉะนั้นการมอบอำนาจให้ขาย ที่ดินก็ต้องทำเป็นหนังสือด้วย โดยจะใช้แบบพิมพ์ของกรมที่ดินหรือไม่ก็ได้ ทั้งนี้ต้องมีสาระสำคัญครบถ้วน แต่เพื่อ ความสะดวก ควรใช้แบบพิมพ์ของกรมที่ดินโดยผู้นั้นจะต้องทำหลักฐานการมอบอำนาจเป็น หนังสือให้ผู้ไปทำการแทน และควรมอบบัตรประจำตัวของผู้มอบให้กับผู้รับมอบอำนาจไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่ เจ้าของที่ดินและผู้ซื้อที่ดินจะต้องระมัดระวัง หรือกระทำ การให้รัดกุม รอบคอบอาจเกิดการฉ้อโกงหรือได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรงได้ จึงขอให้ผู้มอบได้ปฏิบัติตามคำเตือนหลังใบมอบอำนาจโดยเคร่งครัด
  1. ให้กรอกเครื่องหมายหนังสือสำคัญสำหรับที่ดินหรือ อสังหาริมทรัพย์อย่างอื่น เช่น ตึก,บ้านเรือน,ให้ชัดเจน
  2. ให้ระบุเรื่องและอำนาจจัดการให้ชัดเจนว่า มอบอำนาจให้ทำอะไร เช่น ซื้อขาย จำนอง ฯลฯ ถ้ามีเงื่อนไขพิเศษ
    เพิ่มเติมก็ให้ระบุไว้ด้วย
  3. อย่ากรอกข้อความให้ต่างลายมือและใช้น้ำหมึกต่างสีกันถ้าใช้เครื่องพิมพ์ดีดก็ต้องเป็นเครื่องเดียวกัน
  4. ถ้ามีการขูดลบ ตกเติม แก้ไข ขีดฆ่า ให้ระบุว่า ขีดฆ่าตกเติมกี่คำ และผู้มอบอำนาจต้องลงลายมือชื่อกำกับไว้ด้วย
    ทุกแห่ง
  5. อย่าลงลายมือชื่อผู้มอบอำนาจ ก่อนกรอกข้อความครบถ้วน และถูกต้องตามความประสงค์แล้วหรืออย่าลงชื่อใน
    กระดาษเปล่าซึ่งยังมิได้กรอกข้อความเป็นอันขาด
  6. ให้มีพยานอย่างน้อย 1 คน ถ้าผู้มอบอำนาจพิมพ์ลายนิ้วมือต้องมีพยาน 2 คน พยานต้องเซ็นชื่อจะพิมพ์ลายนิ้วมือ
    ไม่ได้ ถ้าภรรยาเป็นผู้รับมอบอำนาจต้องให้สามีลงชื่อเป็นพยานและให้บันทึกความยินยอมเป็นหนังสือด้วย
  7. หนังสือมอบอำนาจทำในต่างประเทศควรให้สถานทูตหรือสถานกงสุลหรือโนตารีปัปลิค [Notary Public] รับรองด้วย
  8. ผู้มอบอำนาจที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ในกรณีที่มีเหตุอันควรสงสัยว่าผู้มอบจะยังคงมีชีวิตอยู่หรือไม่ และสติสัมปชัญญะสมบูรณ์หรือไม่ พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจที่จะสอบสวนคู่กรณีหรือเรียกบุคคลซึ่งเกี่ยวข้อง มาให้ถ้อยคำหรือเรียกให้ส่งเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องได้
บางเรื่องผู้มอบอำนาจเป็นผู้รับมอบอำนาจจาก ทั้งสองฝ่ายคือเป็นตัวแทนทั้งฝ่ายผู้โอนและผู้รับโอน ในกรณีเช่นนี้ผู้มอบอำนาจจะต้องระบุไว้ในหนังสือมอบอำนาจด้วยว่า ยินยอมให้ผู้รับมอบเป็นผู้แทนอีกฝ่ายหนึ่งได้ด้วย (มาตรา 805 แห่ง ป.พ.พ.) ในส่วนผู้รับซื้อหรือผู้รับสิทธิในนิติกรรมมีหน้าที่ระมัดระวังด้วยโดยจะ ต้องรู้จักตัวเจ้าของที่ดินที่แท้จริง เพราะจะซื้อที่ดินทั้งที่เงินก็มาก ต้องรู้จักเจ้าของที่ดินว่ามีตัวตนหรือไม่มีชีวิตอยู่หรือไม่ มีเจตนาจะขาย ที่ดินจริงหรือไม่หากไม่รู้จักเจ้าของที่ดินที่แท้จริงเสียเลยย่อมเป็นการ ผิดวิสัย ถ้าไม่แน่ใจก็อาจขอตรวจดูหลักฐานที่ดินที่สำนักงานที่ดินก่อนได้ จึงขอให้ผู้รับโอนได้ใช้ความระมัดระวังเพื่อป้องกันผลประโยชน์ของตนเอง
ปัจจุบัน กรมที่ดินได้ออกมาตรการเพื่อเป็นการป้องกันการทุจริตและคุ้มครองสิทธิของ ประชาชนในการมอบอำนาจจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ ณ สำนักงานที่ดิน โดยได้ออกระเบียบให้มีการถ่ายรูปผู้รับมอบอำนาจไว้เป็นหลักฐาน และจัดเก็บเป็นข้อมูล หาก มีการทุจริตเกิดขึ้นและจำเป็นต้องใช้ข้อมูลดังกล่าวในการดำเนินคดีกับผู้รับ มอบอำนาจที่ทุจริต เช่น ปลอมลายมือชื่อเจ้าของที่ดิน หรือปลอมแปลงหนังสือมอบอำนาจให้เกิดเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น โดยในเบื้องต้นจะดำเนินการในสำนักงานที่ดินกรุงเทพมหานครและสาขาตั้งแต่วัน ที่ 26 พฤษภาคม 2554 เป็นต้นไป หากมีข้อสงสัยประการใด สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้จากสำนักมาตรฐานการทะเบียนที่ดิน โทร. 0 2141-5765 และสำนักงานที่ดินกรุงเทพมหานคร 0 2225 5758, 0 2224 0187 (ประกาศกรมที่ดิน เรื่อง กรมที่ดินออกมาตรการป้องกันทุจริต กรณีมอบอำนาจจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม, พฤษภาคม 2554)

เอกสารที่ต้องนำไปกรมที่ดิน !!

 29-02-2012

 

หลักฐานการขอจดทะเบียน



บุคคลธรรมดา
  1. โฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์
  2. บัตรประจำตัวประชาชน บัตรประจำตัวข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ
  3. ทะเบียนบ้าน
  4. หลักฐานการเปลี่ยนชื่อตัว ชื่อสกุล
  5. ทะเบียนสมรส ทะเบียนหย่า
  6. มรณะบัตรคู่สมรส
  7. หนังสือยินยอมให้ทำนิติกรรมของคู่สมรส
  8. ถ้ามีการแปลงสัญชาติ ให้นำหลักฐานการแปลงสัญชาติมาแสดง
ห้างหุ้นส่วนบริษัท
  1. โฉนดที่ดิน หรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์
  2. หนังสือรับรองการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล
  3. ข้อบังคับของนิติบุคคล
  4. หนังสือบริคณห์สนธิ และวัตถุประสงค์
  5. บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น กรณีบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชน จำกัด
  6. แบบรับรองรายการจดทะเบียนจัดตั้งห้างหุ้นส่วน กรณีห้างหุ้นส่วนจำกัด หรือห้างหุ้นส่วนสามัญที่จดทะเบียนแล้ว
  7. บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นของนิติบุคคลไทยที่ถือหุ้นในบริษัทจำกัด หรือบริษัทมหาชน จำกัด ผู้ขอ
  8. บัตรประจำตัวประชาชน ทะเบียนบ้าน และตัวอย่าง ลายมือชื่อของกรรมการผู้มีอำนาจทำการแทนนิติบุคล
  9. รายงานการประชุมนิติบุคคล
วัด
  1. หลักฐานหนังสืออนุญาตให้สร้างวัดของกรมการศาสนา
  2. หลักฐานประกาศกระทรวงศึกษาธิการเรื่องตั้งวัดในพระพุทธศาสนาหรือสำนักสงฆ์
  3. หลักฐานการแต่งตั้งเจ้าอาวาสหรือผู้รักษาการแทน
  4. หลักฐานการเลื่อนสมณศักดิ์เจ้าอาวาส (ถ้ามีการเลื่อนสมณศักดิ์)
  5. หลักฐานการได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา
  6. ต้องแสดงบัญชีจำนวนที่ดินของวัดที่มีอยู่ก่อนแล้วทั้งหมด พร้อมทั้งนำ หนังสือสำคัญแสดงสิทธิในที่ดิน ที่มีอยู่แล้วทุกแปลง ไปแสดงต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ด้วย
  7. ต้องแสดงจำนวนพระภิกษุสามเณร
มูลนิธิเกี่ยวกับคริสต์จักร
  1. หนังสืออนุญาตให้จัดตั้งมูลนิธิ
  2. บัญชีมูลนิธิ (แบบ ม.น.2) ซึ่งระบุรายชื่อกรรมการด้านหลัง ตั้งแต่ฉบับแรก ฉบับที่มีการเปลี่ยนแปลงครั้งสุดท้าย
  3. ข้อบังคับ หรือตราสารการก่อตั้งมูลนิธิ
  4. รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิซึ่งลงมติเกี่ยวกับที่ดินแปลงที่จะ ขอได้มา หรือลงมติเกี่ยวกับที่ดินแปลงที่มีการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ในที่ดิน หรือลงมติเกี่ยวกับที่ดินแปลงที่จะมีการเปลี่ยนแปลงเนื้อที่และเจตนาของผู้ โอนใน การขอได้มาซึ่งที่ดินในกรณีรัฐมนตรีฯ อนุญาตให้มูลนิธิฯ ได้มาซึ่งที่ดินแล้ว
  5. หนังสือมอบอำนาจของมูลนิธิ (ถ้ามี)
  6. ต้องแสดงบัญชีจำนวนที่ดินของมูลนิธิฯ ที่มีอยู่ก่อนแล้วทั้งหมด พร้อมทั้งนำหนังสือสำคัญแสดงสิทธิในที่ดินที่มีอยู่แล้วทุกแปลง ไปแสดงต่อพนักงาน เจ้าหน้าที่ด้วย
  7. ใบอนุญาตให้จัดตั้งสุสาน (กรณีขอได้มาซึ่งที่ดินเพื่อใช้เป็นสุสาน)
มัสยิดอิสลาม
  1. ทะเบียนมัสยิด (แบบ ม.อ.2)
  2. ประกาศฯ แต่งตั้งอิหม่าม คอเต็บ และบิหลั่น
  3. ประกาศฯ แต่งตั้งกรรมการมัสยิด
  4. รายงานการประชุมกรรมการมัสยิด และมอบหมายให้ผู้ใดเป็นผู้ทำการแทน ซึ่งลงมติเกี่ยวกับที่ดินแปลงที่จะขอได้มาหรือลงมติเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลง เจตนาในการขอได้มาซึ่งที่ดินระหว่างเสนอเรื่องต่อรัฐมนตรีฯ
  5. หนังสือมอบอำนาจของคณะกรรมการมัสยิด (ถ้ามี)
  6. ต้องแสดงบัญชีจำนวนที่ดินของมัสยิดฯ ที่มีอยู่ก่อนแล้วทั้งหมด พร้อมทั้งนำหนังสือสำคัญแสดงสิทธิในที่ดินที่มีอยู่แล้วทุกแปลง ไปแสดงต่อพนักงาน เจ้าหน้าที่ด้วย
  7. ใบอนุญาตให้จัดตั้งสุสาน (กรณีขอได้มาซึ่งที่ดินเพื่อใช้เป็นสุสาน)

การได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ที่ดิน

 28-02-2012

 

การได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ที่ดิน



  1. การได้มาซึ่งกรรมสิทธิในที่ดิน ก่อนประมวลกฎหมายที่ดินใช้บังคับเช่นได้มาโดยได้โฉนดแผนที่โฉนด ตราจอง, หรือตราจองที่ตราว่าได้ทำประโยชน์แล้ว, ได้มาซึ่งที่บ้านที่สวน
    ตามกฎหมายเบ็ดเสร็จ บทที่ 42 ที่ดินประเภทนี้เป็นที่มีกรรมสิทธิแต่ไม่มีหนังสือสำคัญแสดงกรรมสิทธิและไม่ ถือว่าเป็นที่ดินมือเปล่า ฎีกาที่ 1570/2500 ที่พิพาทซึ่งเจ้าของ
    ได้ครอบครองทำที่ดินให้เป็นที่บ้านที่สวนมาก่อนประกาศใช้ประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์บรรพ4 และพระราชบัญญัติ ออกโฉนดที่ดิน (ฉบับที่ 6) 2479 แล้วแม้ที่ดินพิพาทจะเป็น
    ที่ดินมือเปล่าไม่มีหนังสือสำคัญแสดงกรรมสิทธิก็ต้องนำกฎหมายลักษณะเบ็ด เสร็จบทที่ 42 มาใช้บังคับคดี โดยถืออายุความสละที่ดิน 9ปี 10 ปี หาใช่อายุความ 1 ปี ไม่
  2. การได้มาซึ่งกรรมสิทธิในที่ดินตามประมวลกฎหมายที่ดิน ได้มาโดยขอออกโฉนดที่ดินตั้งตำบลและได้มาโดยขอออกโฉนดที่ดินเฉพาะราย (ประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 58 และ 59)
  3. การได้มาซึ่งกรรมสิทธิในที่ดินโดยนิติกรรม เช่น โดยการซื้อขายแลกเปลี่ยนให้จำนอง, ขายฝาก ต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่มิฉะนั้นเป็นโมฆะ
  4. การได้มาซึ่งกรรมสิทธิในที่ดินโดยผลของกฎหมาย เช่น
      4.1  ได้กรรมสิทธิในที่ดินจากที่งอกริมตลิ่ง ที่ดินแปลงใดเกิดที่งอกริมตลิ่งที่งอกนั้นเป็นทรัพย์สินของเจ้าของที่ดิน แปลงนั้น โดยหลักของที่งอกริมตลิ่งจะต้องเกิดขึ้นโดย ธรรมชาติและติดต่อเป็นผืนเดียวกันแต่เจ้าของที่ดินมีจะมีกรรมสิทธิในที่งอก ได้ต้องเป็นที่ที่มีหนังสือสำคัญแสดงกรรมสิทธิเช่น โฉนดที่ดิน ถ้าเจ้าของที่ดินแปลงใดเป็นที่มือเปล่าเกิดที่งอกออกมาเจ้าของที่แปลงนั้นก็ มีแต่สิทธิครอบครองที่งอกเท่านั้นดังนั้นหากเป็นงอกออกมาจากที่ดินมีโฉนด เจ้าของที่ดิน แปลงดังกล่าวมีกรรมสิทธิในที่งอกผู้อื่นจะแย่งการครอบครองที่ดินส่วนนี้ต้อง ครองครองปรปักษ์เกินกว่า 10 ปีจึงได้กรรมสิทธิ หากเป็นที่งอกออกมาจากที่ดินมือเปล่า (สค.1 ,นส.3) เจ้าของมีเพียงสิทธิครอบครองหากผู้อื่นแย่งการครอบครองและเจ้าของไม่ฟ้อง ร้องเรียกคืนภายใน1 ปี เจ้าของสิ้นสิทธิในที่งอกนั้น

      4.2  ได้มาซึ่งกรรมสิทธิในที่ดินโดยการครอบครองปรปักษ์ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382“บุคคลใดครอบครองทรัพย์สินของผู้อื่นไว้โดยความสงบและโดยเปิดเผย ด้วยเจตนาเป็นเจ้าของถ้าเป็นอสังหาริมทรัพย์ได้ครอบครองติดต่อกันเป็นเวลา 10 ปีท่านว่าบุคคลนั้นได้กรรมสิทธิ”ที่ดินที่จะถูกครอบครองปรปักษ์ได้ จะต้องเป็นที่ดินของผู้อื่นที่มีหนังสือสำคัญแสดงกรรมสิทธิ(โฉนดที่ดิน, โฉนดแผนที่, โฉนดตราจองตราจองที่ตราว่าได้ทำประโยชน์แล้วที่บ้านที่สวนตามกฎหมายเบ็ด เสร็จ(บทที่42) ที่ดินมือเปล่า (ส.ค.1,น.ส.3) จะถูกครอบครองปรปักษ์ไม่ได้ เช่น ก.ครอบครองที่ดินมือเปล่าอย่างเจ้าของมา 10 ปี ก.ก็คงมีเพียงสิทธิครอบครองเท่านั้น การได้กรรมสิทธิโดยครอบครองปรปักษ์จะต้องให้ศาลสั่งว่า ได้มาโดยครอบครองปรปักษ์แล้วนำคำสั่งศาลไปขอจดทะเบียนต่อเจ้าพนักงานที่ดิน ประเภทได้มาโดยการครอบครอง หากเจ้าของได้โดยการครอบครองบางส่วนก็ไปขอจดทะเบียนในประเภทได้มาโดยการครอบ ครองเฉพาะส่วนหรือได้รับแบ่งมาโดยการครอบครอง

      4.3  การได้มาซึ่งกรรมสิทธิในที่ดินโดยทางมรดกการจะมีกรรมสิทธิในที่ดิน มรดกที่ดินมรดกนั้นต้องเป็นที่มีหนังสือสำคัญแสดงกรรมสิทธิเช่น โฉนดที่ดินถ้าที่ดินมรดกเป็นที่มือเปล่าเช่นที่ นส.3, สค.1 ก็มีเพียงสิทธิครอบครอง ได้ทรัพย์มาโดยทางมรดกนี้จะต้องจดทะเบียนต่อเจ้าพนักงานที่ดินเสียก่อนจึงจะ มีการเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนได้เช่น นาย ก. ทำพินัยกรรมยกที่ดินโฉนดให้นาย ข. เมื่อนาย ก. ตาย นาย ข.ก็ได้รับมรดกทันทีโดยผลของกฎหมายโดยไม่ต้องจดทะเบียนเนื่องจากพินัยกรรม มีผลเมื่อเจ้ามรดกถึงแก่ความตาย หรือหากไม่มีพินัยกรมเมื่อเจ้าของมรดกถึงแก่ความตายมรดกก็ตกไปยังทายาทโดย ธรรมทันทีแต่ต่อมาหากนาย ข.ต้องการขายที่ดินมรดกให้นาย ค. นาย ข.จะทำไม่ได้เพราะชื่อในโฉนดยังเป็นชื่อนายก. เจ้าของเดิมอยู่ นาย ข.จะต้องจดทะเบียน การได้มาประเภทมรดก ลงชื่อนาย ข.เป็นผู้ถือกรรมสิทธิเสียก่อน จึงจะเอาที่ดินไปจดทะเบียนขายให้นาย ค. ต่อไปได้เนื่องจากประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299 วรรค 2 บัญญัติว่า“ถ้าผู้ได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์หรือทรัพย์สิทธิอันเกี่ยวกับ อสังหาริมทรัพย์โดยทางอื่น นอกจากนิติกรรมสิทธิของผู้ได้มานั้นถ้ายังมิได้จดทะเบียนไซร้ท่านว่าจะมีการ เปลี่ยนแปลงทางทะเบียนไม่ได้”การได้มาทางมรดก ก็เป็นการได้มาโดยทางอื่นนอกจากนิติกรรมเช่นกัน

การเสียสิทธิในที่ดินตามประมวลกฎหมายที่ดิน

 28-02-2012

 

การเสียสิทธิในที่ดินตามประมวลกฎหมายที่ดิน



ผู้มีสิทธิในที่ดินอาจเสียสิทธิในที่ดินได้ โดยที่ดินนั้นจะตกเป็นของรัฐในกรณีที่มีการทอดทิ้งไม่ทำประโยชน์หรือปล่อย ให้พื้นที่ดินรกร้างว่างเปล่าเกินเวลาดังนี้
          1. สำหรับที่ดินมีโฉนดที่ดินเกิน 10 ปี ติดต่อกัน

          2. สำหรับที่ดินที่มี น.ส.3 เกิน 5 ปี ติดต่อกัน
การทอดทิ้งไม่ทำประโยชน์ หมายความว่า เจ้าของที่ดินไม่ประสงค์จะถือสิทธิในที่ดินนั้นอีกต่อไป ส่วนการปล่อยที่ดินให้เป็นที่รกร้างว่างเปล่า หมายความว่า เจ้าของที่ดินยังมีความประสงค์จะถือสิทธิในที่ดินนั้นอยู่ต่อไป แต่เจ้าของที่ดินไม่ได้ทำประโยชน์ในที่ดินนั้น
การทอดทิ้งไม่ทำประโยชน์หรือปล่อยให้เป็นที่ รกร้างว่างเปล่าเกินกำหนดเวลาที่กล่าวข้างต้น กฎหมายโดยถือว่าผู้นั้นเจตนาสละสิทธิในที่ดินเฉพาะส่วนที่ได้ทอดทิ้ง ไม่ทำประโยชน์หรือปล่อยให้เป็นที่รกร้างว่างเปล่า โดยอธิบดีกรมที่ดินจะต้องยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อขอให้ศาลสั่งเพิกถอนหนังสือ แสดงสิทธิในที่ดินดังกล่าว ที่ดินนั้นก็จะ ตกเป็นของรัฐ เพื่อที่รัฐจะนำที่ดินนั้นมาดำเนินการตามประมวลกฎหมายที่ดินนี้ต่อไป เช่น นำมาจัดให้ประชาชนตามมาตรา 27 หรือเปิดให้ประชาชนเข้าจับจอง หรือนำไปจัดหาผลประโยชน์อย่างหนึ่งอย่างใดก็ได้

ที่ดินที่จะออกโฉนดที่ดิน หรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ได้

28-02-2012

 

ที่ดินที่จะออกโฉนดที่ดิน หรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ได้



1. ที่ดินที่จะออกหนังสือแสดงสิทธิในที่ดิน คือ โฉนดที่ดิน หรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3, น.ส. 3ก., น.ส. 3ข.)ได้ จะต้องเป็นที่ดินที่มีลักษณะตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง ฉบับที่ 43 (พ.ศ. 2537) ข้อ 14 กล่าวคือ

    - จะต้องเป็นที่ดินที่ผู้มีสิทธิในที่ดินได้ครอบครองและทำประโยชน์แล้ว
    - ไม่เป็นที่ดินที่ราษฎรใช้ประโยชน์ร่วมกัน เช่น ทางน้ำ ทางหลวง ทะเลสาบที่ชายตลิ่ง ที่เลี้ยงสัตว์สาธารณประโยชน์
    - ไม่เป็นที่ดินซึ่งได้หวงห้ามไว้เพื่อประโยชน์ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการหวง ห้ามที่ดินรกร้างว่างเปล่า อันเป็นสาธารณสมบัติ ของแผ่นดินพุทธศักราช 2478
    - ไม่เป็นที่ดินที่คณะกรรมการจัดที่ดินแห่งชาติสงวนและพัฒนาที่ดินเพื่อจัดให้แก่ประชาชน
    - ไม่เป็นที่ดินของรัฐที่คณะกรรมการจัดที่ดินแห่งชาติสงวนหรือหวงห้ามเพื่อให้ประชาชนใช้ประโยชน์ร่วมกัน
    - ไม่เป็นที่ดินที่คณะรัฐมนตรีสงวนไว้เพื่อรักษาทรัพยากรธรรมชาติหรือเพื่อประโยชน์สาธารณะอย่างอื่น

2. ที่ดินที่มีลักษณะดังต่อไปนี้ จะออกหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินได้จะต้องอยู่ในเงื่อนไข ดังนี้

    -ที่ เขา ที่ภูเขา และพื้นที่ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยประกาศหวงห้ามตาม มาตรา 9 (2) แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน ผู้ครอบครองที่ดินจะต้องมีสิทธิครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมายตามประมวลกฎหมาย ที่ดิน
    -ที่เกาะ จะต้องมีหลักฐานการแจ้งการครอบครอง (ส.ค. 1 ) ใบจอง, ใบเหยียบย่ำ, น.ค. 3, ก.ส.น. 5 หรือเป็นที่ดินที่คณะกรรมการจัดที่ดิน แห่งชาติได้อนุมัติให้จัดแก่ประชาชน หรือเป็นที่ดินซึ่งได้มีการจัดหาผลประโยชน์ตามมาตรา 10 และ 1 แห่งประมวลกฎหมายที่ดินโดย คณะกรรมการจัดที่ดินแห่งชาติได้อนุมัติแล้ว
    -เขต ป่าสงวนแห่งชาติ เขตอุทยานแห่งชาติ พื้นที่รักษาพันธุ์สัตว์ป่า พื้นที่ห้ามล่าสัตว์ป่า หรือพื้นที่ที่ได้จำแนกให้เป็นเขตป่าไม้ถาวร จะต้องมีหลักฐานการแจ้งการครอบครอง (ส.ค. 1 ) หรือได้ออกใบจอง, ใบเหยียบย่ำ, ตราจอง ไว้ก่อนการสงวนหรือ หวงห้ามที่ดิน
    -ที่ดินที่ อยู่ในเขตปฏิรูปที่ดิน ผู้ครอบครองที่ดินจะต้องมีหลักฐานการแจ้งการครอบครอง (ส.ค. 1), ใบแจ้งความประสงค์จะได้สิทธิในที่ดิน ตามมาตรา 27 ตรี แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน หรือมีใบจอง, ใบเหยียบย่ำ หรือมีหลักฐาน น.ค. 3, ก.ส.น. 5 ก่อนประกาศเป็นเขตปฏิรูปที่ดิน
    -พื้นที่ที่มีความลาดชัน โดยเฉลี่ยร้อยละ 35 ขึ้นไป ตามที่กำหนดไว้ในนโยบายป่าไม้ แห่งชาติ ผู้ครอบครองที่ดินจะต้องมีสิทธิครอบครองมาก่อน การบังคับใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน (ก่อน 1 ธันวาคม 2497) หรือมีหลักฐานแสดงว่าเป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินโดยชอบด้วยกฎหมาย เช่น มีหลักฐานการแจ้งการครอบครอง (ส.ค. 1)

หลักการประเมินราคาอสังหาริมทัพย์

ระเบียบของคณะกรรมการกำหนดราคาประเมินทุนทรัพย์
ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการในการกำหนดราคาประเมินทุนทรัพย์ของอสังหาริมทรัพย์
เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม พ.ศ 2535 และ ฉบับที่ 2 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2538

-----------------------------


     อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 105 เบญจ แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม โดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายที่ดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2534 และมาดรา 62 แห่งพระราชบัญญัติอาคารชุด พ.ศ. 2522 คณะกรรมการกำหนดราคาประเมินทุนทรัพย์จึงวางระเบียบไว้ดังต่อไปนี้

     ข้อ 1. ระเบียบนี้เรียกว่า "ระเบียบของคณะกรรมการกำหนดราคาประเมินทุนทรัพย์ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการในการกำหนดราคาประเมินทุนทรัพย์ของอสังหาริม ทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่า ธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม พ.ศ. 2535"
     ข้อ 2. ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 เป็นต้นไป
     ข้อ 3. บรรดาระเบียบข้อบังคับและคำสั่งอื่นใดในส่วนที่กำหนดไว้แล้วในระเบียบนี้ หรือซึ่งขัดแย้งกับระเบียบนี้ให้ใช้ระเบียบนี้แทน 

     ข้อ 4. ให้อธิบดีกรมที่ดินเป็นผู้รักษาการตามระเบียบนี้
     ข้อ 5. ในระเบียบนี้
               “ราคาประเมินทุนทรัพย์” หมายความว่า ราคาตลาดที่คณะกรรมการกำหนดราคาประเมิน ทุนทรัพย์เห็นชอบให้ใช้เรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและ นิติกรรมสำหรับอสังหาริมทรัพย์
                “ราคาดลาด” หมายความว่า (1) ราคาที่ทั้งผู้ซื้อและผู้ขายส่วนมากยินดีตกลงซื้อขายกัน (2) ราคาที่ผู้ซื้อและผู้ขายทั้งสองฝ่ายทราบ ข้อมูลในทรัพย์สินที่จะซื้อขายนั้นพอสมควร (3) ราคาที่ผู้ซื้อหรือผู้ขายมิได้ถูกบังคับหรือมีแรงจูงใจให้ซื้อขายกัน (4) ราคาของตลาดการค้าเสรีที่มีการแข่งกัน ไม่ใช่ราคาจากตลาดผูกขาด โดยผู้ซื้อหรือผู้ขาย หรือราคาขายทอดตลาด หรือราคาในภาวะที่เศรษฐกิจตกต่ำ หรือเงินเฟ้อ
               "เขต" หมายความว่า บริเวณที่ดินที่ประกอบด้วยเขตย่อยไม่เกิน 26 เขต
               "เขตย่อย" หมายความว่า กลุ่มย่อยของที่ดินในเขตหนึ่ง ๆ
                "หน่วยที่ดิน" หมายความว่า ที่ดินแปลงเดียวหรือหลายแปลงในบริเวณเดียวกัน หรือต่างบริเวณกัน ซงประกอบด้วยปัจจัยต่าง ๆ ที่มีผลทำให้ราคาที่ดินนั้นแตกต่างกันน้อยที่สุด
               "คณะอนุกรรมการประจำจังหวัด" หมายรวมถึง คณะอนุกรรมการประจำจังหวัดสำหรับ กรุงเทพมหานคร ด้วย
               "อำเภอ" หมายรวมถึง เขต และกิ่งอำเภอ ด้วย
                "ตำบล" หมายรวมถึง แขวง ด้วย
               "วิธีต้นทุนทดแทน" หมายความว่า เป็นวิธีการคิดหามูลค่าของโรงเรือน สิ่งปลูกสร้างที่จะทำการประเมินราคาโดยการประมาณราคาต้นทุนราคาค่าก่อสร้าง ใหม่ในลักษณะทดแทนของเก่าหัก ด้วยค่าเสื่อมตามอายุการก่อสร้าง
               "ต้นทุนราคาค่าก่อสร้างใหม่" หมายความว่า การประเมินราคาค่าก่อสร้างที่สมมุติว่าสร้างขึ้นใหม่ทดแทนของเดิม ณ วันที่ทำการประเมินราคาโดยให้มีขนาด รูปร่าง ลักษณะ วัสดุก่อสร้างและประโยชน์ใช้สอย เหมือนเดิม
               "ค่าเสื่อม" หมายความว่า การเสื่อมค่าอันเนื่องมาจากอายุการก่อสร้างของโรงเรือน สงปลูกสร้าง โดยคิดหักเป็นร้อยละต่อปี ตามประเภทของโรงเรือนสิ่งปลูกสร้างนั้น ๆ
               "พื้นที่ใช้สอย" หมายความว่า พื้นที่ของโรงเรือนสิ่งปลูกสร้างอันประกอบด้วยพื้นห้องต่างๆ และให้รวมถึงเฉลียง ระเบียง และส่วนโล่งหลังคาคลุม


หมวด 1 การกำหนดราคาประเมินทุนทรัพย์ที่ดิน


     ข้อ 6. ให้คณะอนุกรรมการประจำจังหวัดพิจารณากำหนดราคาประเมินทุนทรัพย์เกี่ยวกับ ที่ดินแต่ละเขตไว้เป็นหลักฐาน ในการนี้จะเชิญผู้ที่มีความรู้ความชำนาญเกี่ยวกับการประเมินราคา ที่ดินมาชี้แจงแสดงเหตุผลประกอบการพิจารณาด้วยก็ได้
    ข้อ 7. คณะอนุกรรมการประจำจังหวัดอาจตั้งคณะทำงานเพื่อสืบหาข้อเท็จจริงของราคา ตลาดสำหรับที่ดินแต่ละเขตย่อยภายในเขตจังหวัดและวิเคราะห์ประเมินราคาที่ดิน ก็ได้
   ข้อ 8. ให้คณะอนุกรรมการประจำจังหวัดจัดทำแผนที่ประกอบการพิจารณาและกำหนดจำนวนทุน ทรัพย์ ดังนี้
                (1) ในท้องที่ใดซึ่งสำนักงานกลางประเมินราคาทรัพย์สินได้จัดทำแผนที่ประเมินราคา ที่ดิน และกำหนดหน่วยที่ดินไว้แล้ว ให้ใช้แผนที่ดังกล่าวเป็นหลักฐานในการประเมินราคา
                (2) ที่ดินนอกเขตดังกล่าวใน (1) ให้คณะอนุกรรมการประจำจังหวัดกำหนดหน่วยที่ดิน โดยใช้แผนที่ภูมิประเทศมาตราส่วน 1:50,000 เป็นหลัก เว้นแต่กรณีจำเป็นก็ให้ใช้แผนที่ที่มีมาตราส่วนตามความเหมาะสม แล้วแบ่งหน่วยที่ดินเป็นกลุ่มตามสภาพความเหมาะสมในการใช้ประโยชน์ ตลอดจน ความเจริญของท้องที่ โดยให้ถือเอาสาธารณูปโภคและแนวเขตธรรมชาติเป็นหลักในการพิจารณากำหนด ทุนทรัพย์
                (3) ในการจัดทำแผนที่ตาม (1) หรือ (2) ให้จัดทำแยกเป็นรายตำบลและอำเภอ

      ข้อ 9. ให้คณะอนุกรรมการประจำจังหวัดพิจารณากำหนดราคาประเมินทุนทรัพย์ เพื่อใช้เรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม โดยทำการสำรวจข้อมูลราคาซื้อขายที่ดินในท้องตลาดย้อนหลังไม่เกินสามปี และสำรวจข้อมูลอื่นๆ ที่จำเป็นในการประเมินราคา เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับสภาพทางเศรษฐกิจ สังคม สภาพทางกายภาพของเมือง รวมทั้งแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และโครงการของรัฐหรือท้องถิ่น ตลอดจนแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดิน แนวโน้มการพัฒนาเมือง ซึ่งอาจเก็บรวบรวมข้อมูลเหล่านี้จากสำนักงานที่ดินจังหวัดหรืออำเภอ สำนักงาน จังหวัด สำนักงานสถิติจังหวัด สำนักงานเทศบาล สำนักงานเขตหรือที่ว่าการอำเภอ หรือหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น        

     ข้อ 10. เมื่อได้ทำการสำรวจและเก็บรวบรวมข้อมูลตามข้อ 9 เสร็จแล้วให้ดำเนินการดังนี้
               (1) วิเคราะห์และประเมินราคา โดยวิธีเปรียบเทียบราคาตลาด
               (2) ในกรณีที่ดินบริเวณใดไม่มีการซื้อขายให้พิจารณากำหนดจำนวนทุนทรัพย์โดย พิจารณา จากที่ดินหน่วยใกล้เคียง ซึ่งมีสภาพคล้ายคลึงกันในปัจจัยต่างๆ ดังต่อไปนี้
                    (ก) สภาพการใช้ประโยชน์ในที่ดิน
                    (ข) การคมนาคม สาธารณูปโภค และสาธารณูปการ
                    (ค) ข้อจำกัดทางกฎหมาย เช่น การผังเมือง หรือที่ดินที่อยู่ในเขตเวนคืน
                    (ง) แนวโน้มของการพัฒนาในอนาคต
                    (จ) ข้อมูลการตกลงจะซื้อจะขายที่ดิน
                    (ฉ) ค่าเช่าหรือรายได้ที่ได้รับจากที่ดิน
                (3) ในการกำหนดจำนวนทุนทรัพย์ของที่ดิน มิให้รวมราคาอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างเข้าไว้ด้วย

      ข้อ 11. ในกรณีที่สำนักงานกลางประเมินราคาทรัพย์สินได้ทำการสำรวจและประเมิน ราคาที่ดินในเขตท้องที่ใดไว้แล้ว ให้คณะอนุกรรมการประจำจังหวัดนำรายงานการประเมินราคาของสำนักงานกลางประเมิน ราคาทรัพย์สินประกอบการพิจารณากำหนดราคาประเมินทุนทรัพย์ได้


หมวด 2 การกำหนดราคาประเมินทุนทรัพย์โรงเรือนสิ่งปลูกสร้าง


      ข้อ 12. ให้คณะอนุกรรมการประจำจังหวัดสำรวจประเภทของโรงเรือน สิ่งปลูกสร้าง ในจังหวัดต่างๆ แล้วกำหนดเป็นแบบมาตรฐานสำหรับจังหวัดนั้นๆ ตามความเหมาะสมแก่ท้องที่ ในกรณีที่สำนักงานกลางประเมินราคาทรัพย์สินได้ทำการสำรวจกำหนดแบบ และจัดทำ ราคาโรงเรือนสิ่งปลูกสร้างในจังหวัดใดไว้แล้ว ให้คณะอนุกรรมการประจำจังหวัดนำราคาดังกล่าวประกอบการพิจารณากำหนดราคา ประเมินทุนทรัพย์ได้ 

     ข้อ 13. การกำหนดแบบมาตรฐานของโรงเรือนสิ่งปลูกสร้างแต่ละประเภทให้ประกอบด้วยแปลน พื้น รูปด้าน รูปตัด และอื่นๆ เท่าที่จำเป็น ทั้งนี้ให้เป็นไปตามหลักการเขียนแบบสถาปัตยกรรม
     ข้อ 14. เพื่อให้สามารถกำหนดราคาประเมินทุนทรัพย์ได้ละเอียดถูกต้องและเป็นธรรมแก่ ผู้เสียค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม อาจกำหนดแบบมาตรฐานโรงเรือนสิ่งปลูกสร้างประเภทเดียวกันเป็นประเภทย่อยตาม คุณภาพของวัสดุก่อสร้าง เช่น ธรรมดา ปานกลาง ดี ดีมาก
     ข้อ 15. ให้สำรวจข้อมูลเกี่ยวกับราคาโรงเรือนสิ่งปลูกสร้างในท้องที่แต่ละจังหวัด ได้แก่ ราคาวัสดุก่อสร้าง อัตราค่าจ้างแรงงาน และสถิติราคาค่าก่อสร้างจากหน่วยราชการ  

     ข้อ 16. ให้ประมาณราคาค่าก่อสร้างโรงเรือนสิ่งปลูกสร้างโดยวิธีการประมาณราคา จากปริมาณงานและวัสดุก่อสร้างต่อหน่วย หรือวิธีประมาณราคาจากพื้นที่ แล้วแต่ความเหมาะสม
     ข้อ 17. ให้ประมาณการค่าอำนวยการและดำเนินงาน กำไร และภาษี โดยกำหนดเป็นอัตราร้อยละจากข้อ 16
     ข้อ 18. เมื่อได้ดำเนินการดามข้อ 16 และข้อ 17 เสร็จแล้วให้นำมารวมกันแล้วหารด้วยพื้นที่ใช้สอยของโรงเรือนสิ่งปลูกสร้าง ตามแบบมาตรฐานของประเภทนั้น ก็จะได้ราคาค่าก่อสร้างต่อตารางเมตร
     ข้อ 19. การกำหนดราคาประเมินทุนทรัพย์ให้วิเคราะห์เปรียบเทียบราคาค่าก่อสร้าง ของหน่วยงานอื่น ๆ ได้แก่ สำนักงบประมาณ กรมโยธาธิการ ธนาคารพาณิชย์ ผู้รับเหมา หรือหน่วยงาน อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
     ข้อ 20. ให้จัดทำบัญชีราคามาตรฐานค่าก่อสร้างแยกตามประเภทของโรงเรือนสิ่งปลูกสร้าง หรือประเภทย่อยตามระดับคุณภาพวัสดุก่อสร้าง โดยมีหน่วยเป็นบาทต่อตารางเมตร
     ข้อ 21. ในบัญชีตามข้อ 20 อาจประกอบด้วยรายละเอียดเกี่ยวกับโรงเรือนสิ่งปลูกสร้าง และวัสดุก่อสร้าง ได้แก่ โครงสร้าง ฐานราก โครงหลังคา วัสดุมุงหลังคา พื้น การตกแต่งพื้นผิว ผนัง การ ตกแต่งผนัง ฝ้าเพดาน ประดู หน้าต่าง บันได ตกแต่งบันได ห้องน้ำ - ส้วม สุขภัณฑ์ และรายละเอียดอื่นๆ ตามความเหมาะสม
     ข้อ 22. ให้กำหนดอัตราค่าเสื่อมของโรงเรือนสิ่งปลูกสร้างแต่ละประเภท ดังนี้
                (1) โรงเรือนสิ่งปลูกสร้างที่เป็นตึก ให้หักค่าเสื่อมปีที่ 1 ถึงปีที่ 10 ร้อยละ 1 ต่อปี ปีที่ 11 ถึงปีที่ 42 ร้อยละ 2 ต่อปี และตั้งแต่ ปีที่ 43 เป็นต้นไปให้หักค่าเสื่อมร้อยละ 76 ตลอดอายุการใช้งานของ โรงเรือนสิ่งปลูกสร้างนั้น
                (2) โรงเรือนสิ่งปลูกสร้างที่เป็นตึกครึ่งไม้ ให้หักค่าเสื่อมปีที่ 1 ถึงปีที่ 5 ร้อยละ 2 ต่อปี ปีที่ 6 ถึงปีที่ 15 ร้อยละ 4 ต่อปี ปีที่ 16 ถึงปีที่ 21 ร้อยละ 5 ต่อปี และตั้งแต่ปีที่ 22 เป็นต้นไป ให้หักค่าเสื่อมร้อยละ 85 ตลอดอายุการใช้งานของโรงเรือนสิ่งปลูกสร้างนั้น
                (3) โรงเรือนสิ่งปลูกสร้างที่เป็นไม้ให้หักค่าเสื่อมปีที่ 1 ถึงปีที่ 5 ร้อยละ 3 ต่อปี ปีที่ 6 ถึงปีที่ 15 ร้อยละ 5 ต่อปี ปีที่ 16 ถึงปีที่ 18 ร้อยละ 7 ต่อปี และตั้งแต่ปีที่ 19 เป็นต้นไป ให้หักค่าเสื่อมร้อยละ 93 ตลอดอายุการใช้งานของโรงเรือนสิ่งปลูกสร้างนั้น


หมวด 3 การกำหนดราคาประเมินทุนทรัพย์ห้องชุด


      ข้อ 23. ให้คณะอนุกรรมการประจำจังหวัดพิจารณากำหนดราคาประเมินทุนทรัพย์ ห้องชุด เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับห้องชุด ของอาคารชุดนั้นๆ ในกรณีที่สำนักงานกลางประเมินราคาทรัพย์สินได้ทำการสำรวจ และประเมินราคากรรมสิทธิ์ห้องชุดของอาคารชุดใดไว้แล้ว ให้คณะอนุกรรมการประจำจังหวัดนำรายงานการประเมินราคาของสำนักงานกลางประเมิน ราคาทรัพย์สินประกอบการพิจารณากำหนดราคาประเมินทุนทรัพย์ได้

      ข้อ 24. ให้คณะอนุกรรมการประจำจังหวัดใช้ราคาตลาดของห้องขุด ณ วันที่ขอจดทะเบียนอาคารชุดนั้นๆ มากำหนดราคาประเมินทุนทรัพย์

      ข้อ 25. การกำหนดราคาประเมินทุนทรัพย์ห้องชุดให้คำนึงถึง
                (1) ราคาซื้อขาย เงื่อนไขสัญญาซื้อขาย หรือค่าเช่าของห้องชุดในแต่ละชั้นของห้องชุดนั้น และข้อมูลลักษณะเดียวกันของอาคารชุดอื่นที่คล้ายคลึงกันในบริเวณใกล้เคียง
                (2) ปริมาณและคุณภาพเกี่ยวกับทรัพย์ส่วนกลาง
                (3) สิ่งอำนวยความสะดวกและการให้บริการในอาคารชุดนั้น
                (4) คุณภาพของวัสดุ และการตกแต่งภายในห้องชุดในลักษณะที่เป็นส่วนควบ
                (5) ประเภทของห้องชุดที่ใช้ประโยชน์แตกต่างกัน เช่น ห้องชุดพาณิชยกรรม ห้องชุดสำนักงาน และห้องชุดพักอาศัย เป็นต้น
                (6) แบบและตำแหน่งที่ตั้งห้องชุดในอาคารชุดนั้น
                (7) ระบบการบริหารและการจัดการทรัพย์ส่วนกลาง
                (8) ราคาตลาดของที่ดินอันเป็นทรัพย์ส่วนกลางของอาคารชุด และต้นทุนค่าก่อสร้างอาคาร ณ วันขอจดทะเบียนอาคารชุด

      ข้อ 26. เมื่อได้ทำการสำรวจและเก็บข้อมูลตามข้อ 25 เสร็จแล้ว ให้ดำเนินการประเมิน ราคาโดยใช้วิธีใดวิธีหนึ่งหรือหลายวิธีประกอบกัน ดังนี้
                (1) ให้ใช้วิธีเปรียบเทียบราคาตลาด กรณีที่มีข้อมูลราคาซื้อขายห้องชุดในอาคารชุดที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันและ ตั้งอยู่บริเวณใกล้เคียงกัน
                (2) ให้ใช้วิธีคิดจากรายได้ กรณีที่มีข้อมูลค่าเช่าห้องชุดในอาคารชุดที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน และตั้งอยู่บริเวณใกล้เคียงกัน
                (3) ให้ใช้วิธีต้นทุนทดแทน กรณีข้อมูลใน (1) หรือ (2) ไม่เพียงพอหรือไม่สามารถเปรียบ เทียบกันได้

      ข้อ 27. ให้คณะอนุกรรมการประจำจังหวัดกำหนดราคาประเมินทุนทรัพย์ของห้องชุด เป็นราคาต่อตารางเมตร โดยกำหนดเป็นชั้นๆ หรือกลุ่มชั้นที่มีราคาเท่ากัน หากราคาในชั้นเดียวกันแตกต่าง กันก็อาจกำหนดให้ละเอียดเป็นรายห้องชุดก็ได้

      ข้อ 28. อาคารชุดใดประกอบด้วยอาคารหลายอาคาร การกำหนดราคาประเมินทุนทรัพย์จะรวมกันหรือแยกแต่ละอาคารก็ได้ตามความเหมาะสม ดังนี้
                 (1) ให้รวมกำหนดราคาประเมินทุนทรัพย์ กรณีแต่ละอาคารมีสภาพทำเลที่ตั้งและราคาเท่ากัน
                 (2) ให้แยกกำหนดราคาประเมินทุนทรัพย์ กรณีแต่ละอาคารมีสภาพทำเลที่ตั้งและราคา แตกต่างกัน

      ข้อ 29. อาคารชุดใดมีทรัพย์ส่วนบุคคลอื่นๆ ที่จัดไว้เป็นของห้องชุดเฉพาะห้องให้กำหนดราคาประเมินทุนทรัพย์แยกไว้ต่างหาก

หมวด 4 การจัดทำบัญชีกำหนดราคาประเมินทุนทรัพย์


      ข้อ 30. เมื่อคณะอนุกรรมการประจำจังหวัดได้กำหนดราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บ ค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเสร็จแล้ว ให้จัดทำบัญชีกำหนดราคาประเมิน ทุนทรัพย์ของอสังหาริมทรัพย์ตามแบบท้ายระเบียบนี้ตามข้อ 8 (1) (2) พร้อมทั้งแผนที่แสดงเขตและแผนที่ แสดงเขตย่อย ข้อ 20 ข้อ 27 ข้อ 28 และข้อ 29 แล้วแต่กรณี ส่งไปยังกรมที่ดิน เพื่อเสนอคณะกรรมการกำหนดราคาประเมินทุนทรัพย์พิจารณาให้ความเห็นชอบและ ประกาศใช้ต่อไป

      ข้อ 31. เมื่อคณะกรรมการกำหนดราคาประเมินทุนทรัพย์ให้ความเห็นชอบกับราคา ประเมินทุนทรัพย์ของอสังหาริมทรัพย์ที่คณะอนุกรรมการประจำจังหวัดเสนอมาตาม ข้อ 30 แล้วให้ประธาน คณะอนุกรรมการประจำจังหวัดประกาศใช้บัญชีกำหนดราคาประเมินทุนทรัพย์แล้วส่ง ให้สำนักงานที่ดิน จังหวัด สำนักงานที่ดินสาขา สำนักงานเขต หรือที่ว่าการอำเภอท้องที่และที่ว่าการกิ่งอำเภอท้องที่ เพื่อปิด ประกาศไว้ ณ สำนักงานหรือที่ว่าการนั้นๆ แล้วแต่กรณี พร้อมทั้งส่งบัญชีกำหนดราคาประเมินทุนทรัพย์ และสำเนาแผนที่ไปยังกรมที่ดิน 2 ชุด ให้เก็บบัญชีกำหนดราคาประเมินทุนทรัพย์ไว้ที่สำนักงานที่ดินจังหวัด สำนักงานที่ดินสาขา สำนักงานที่ดินอำเภอหรือสำนักงานที่ดินกิ่งอำเภอแล้วแต่กรณี อย่างน้อยแห่งละ 1 ชุด เพื่อให้ประชาชนที่เกี่ยวข้องตรวจสอบและขอคัดสำเนาโดยเสียค่าธรรมเนียมตาม ระเบียบได้

      ข้อ 32. การกำหนดราคาประเมินทุนทรัพย์ของอสังหาริมทรัพย์แต่ละคราวให้ใช้ได้ ไม่เกินสี่ปี นับแต่วันที่ประกาศใช้บัญชีกำหนดราคาประเมินทุนทรัพย์ของอสังหาริมทรัพย์ เว้นแต่ปรากฏว่า ราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดของอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่หนึ่งท้อง ที่ใดในจังหวัดนั้น แตกต่างจาก ราคาประเมินทุนทรัพย์ที่ได้ประกาศไว้มากพอสมควร ก็ไห้คณะอนุกรรมการประจำจังหวัดพิจารณากำหนด ราคาประเมินทุนทรัพย์ของอสังหาริมทรัพย์นั้นใหม่โดยเร็ว แล้วเสนอขอความเห็นชอบจากคณะกรรม การกำหนดราคาประเมินทุนทรัพย์ เพื่อประกาศใช้ต่อไป [ข้อความในข้อ 32 นี้แก้ไขใหม่ตามระเบียบฯ ฉบับที่ 2 พ.ศ.2538 ประกาศ ณ วันที่ 22 ธันวาคม 2538]

วันอาทิตย์ที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

การเสียภาษีในการขายที่ดิน

ขายที่ดิน เสียภาษีอย่างไร

   การสะสมทรัพย์สินชนิดหนึ่งที่นิยมกันมาก ก็คือ ที่ดิน นี่ แหละ นอกจากจะไม่เน่า ไม่เสียแล้ว ราคายังสูงขึ้นทุกปี สูงต่ำมาก น้อยเท่าใดขึ้นอยู่กับทำเลและความต้องการของผู้ซื้อ หากทำเลดีแต่ ไม่อยากขาย และไม่รู้จะใช้ทำอะไรก็ยังนำไปให้เช่าได้
หากที่ดินอยู่ในทำเลที่ดี ผลตอบแทนย่อมดีกว่าเอาเงินไปฝากธนาคารเป็นไหนๆ
เพราะดอกเบี้ยเงินฝากนั้นต่ำเอามากๆ หักภาษีและเงินเฟ้อแล้ว ไม่รู้ว่าเหลือเท่าใด ดีไม่ดีอาจติดลบด้วยซ้ำไป
หากท่านเคยไปทำธุระติดต่อที่สำนักงาน ที่ดินเพื่อซื้อขาย จดทะเบียนจำนอง ทำนิติกรรมกรณีเช่าที่ดินเกินกว่า 3 ปี หรือทำธุรกรรมอื่นๆ จะพบว่ามีผู้ใช้บริการเป็นจำนวนมากพอสมควร เดี๋ยวนี้การให้บริการดีขึ้นเยอะ เพราะมีการกำหนดเวลาการให้บริการแต่ละธุรกรรมไว้ ทำให้ ผู้ใช้บริการสามารถวางแผนเวลาได้ง่ายขึ้น
วันนี้ขอ กล่าวถึงบุคคลธรรมดาที่ได้ขายที่ดินเปล่า เมื่อขายที่ดินออกไปจะต้องเสียภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรประเภทใดบ้าง นอกเหนือจากเสียค่าโอนหรือค่าธรรมเนียมที่กรมที่ดินจัดเก็บแล้ว

การขายที่ดินเปล่าของบุคคลธรรมดาทั่วไป ประมวลรัษฎากรกำหนดให้เสียภาษีอยู่ 3 ประเภท
ได้แก่ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์
ผู้ขายที่ดินเปล่าต้องเสียภาษีทั้ง 3 ประเภทเลยหรือไม่ หรือเสียภาษีประเภทใดประเภทหนึ่ง ต้องใช้ราคาประเมินของเจ้าพนักงาน หรือราคาที่ได้มีการซื้อขายจริงเพื่อคิดคำนวณภาษี วิธีการคำนวณภาษีแต่ละประเภทเป็นอย่างไร ต้องนำเงินได้จากการขายที่ดินมารวม ยื่นเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหรือไม่ เหล่านี้เป็นคำถามที่ผู้ขาย ที่ดินมักสอบถามอยู่เสมอ ซึ่งก็ไม่ผิดอะไรที่จะถามเพราะหากไม่คิดคำนวณดูแล้ว อาจจะได้เงินได้หลังจากที่หักภาษี ค่าธรรมเนียมและ ค่าใช้จ่ายอื่นออกแล้วต่ำกว่าที่ต้องการมากก็ได้
สำหรับผู้ซื้อก็ยังสามารถนำไปใช้คิดคำนวณต่อรองราคา กรณีที่ ผู้ขายขอให้ผู้ซื้อเป็นผู้ออกค่าภาษีและค่าธรรมเนียมอื่นๆ
พูดง่ายๆ ว่า สามารถนำมาใช้ต่อรองราคาที่ซื้อขายได้ไม่ว่าจะ เป็นผู้ขายหรือผู้ซื้อ
ประมวล รัษฎากรได้กำหนดให้กรมที่ดินจัดเก็บภาษีแทนกรมสรรพากร เมื่อมีการซื้อขายที่ดิน หากไม่ชำระภาษีที่กรมที่ดินให้ถูกต้องครบถ้วน ห้ามมิให้มีการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินที่ซื้อขายนั้น
พูดง่ายๆ ว่า ไม่จ่ายภาษีให้ครบไม่สามารถใส่ชื่อผู้ซื้อในโฉนด ที่ดินได้ว่างั้นเถอะ
การใช้ราคาที่ดินเพื่อคิดคำนวณภาษี มีทั้งราคาประเมินของ เจ้าพนักงานกรมที่ดินและราคาซื้อขายมาคิดคำนวณ ขึ้นอยู่กับว่าใช้คิดคำนวณภาษีประเภทใด กรณี ราคาที่ดินที่นำมาใช้คิดคำนวณภาษี เงินได้บุคคลธรรมดาและอากรแสตมป์ ประมวลรัษฎากรกำหนดให้ ใช้ราคาประเมินเจ้าพนักงานมาคิดคำนวณ ไม่ว่าราคาที่ซื้อขายที่ดิน จะสูงหรือต่ำกว่าราคาประเมินก็ตาม
เช่น ราคาประเมินของเจ้าพนักงานเท่ากับ 1 ล้านบาท แต่ราคา ที่ซื้อขายเท่ากับ 1.2 ล้านบาท หรือราคาซื้อขายเท่ากับ 8 แสนบาท การคิดคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและอากรแสตมป์ ต้องใช้ราคาประเมิน 1 ล้านบาท มาเป็นฐานในการคิดคำนวณภาษี
สำหรับการคิดคำนวณภาษีธุรกิจเฉพาะนั้นแตกต่างออกไป กฎหมายให้ใช้ราคาประเมินหรือราคาซื้อขายที่สูงกว่ามาคิดคำนวณภาษี เช่น ราคาประเมินของเจ้าพนักงานเท่ากับ 1 ล้านบาท แต่ ราคาที่ซื้อขายเท่ากับ 1.2 ล้านบาท ให้ใช้ราคา 1.2 ล้านบาท มาคิดคำนวณภาษี
แต่ถ้าราคาซื้อขายเท่ากับ 8 แสนบาท การคิดคำนวณภาษีให้ ใช้ราคาประเมิน 1 ล้านบาท
แค่การใช้ราคาประเมินหรือราคาซื้อขาย เพื่อคิดคำนวณภาษี แต่ละประเภทก็มีเงื่อนไขแตกต่างกันแล้ว ยังมีการนับจำนวนปี ถือครองที่นำมาคิดคำนวณ หรือเพื่อยกเว้นภาษีในบางกรณีแตกต่างกันอีก
----------------------------------------------------------------
  วิธีคิดคำนวณภาษีเงินได้บุคคล ธรรมดาที่ต้องเสียขณะ โอนกรรมสิทธิ์ที่กรมที่ดิน กรณีขายที่ดินที่ได้มาโดยไม่มุ่งค้าหากำไรและมุ่งค้าหากำไร ซึ่งค่าใช้จ่ายที่กฎหมายยอมให้หักจากราคาประเมินจะแตกต่างจากขายที่ดินที่ ได้มาโดยทางมรดกและเสน่หา สรุปได้ ดังนี้
  ที่ดินที่ได้มาโดยไม่มุ่งค้าหากำไร เช่น ซื้อที่ดินมาเพื่อสร้างที่อยู่อาศัย หรือใช้ที่ดินทำมาหากินทางการเกษตร เป็นต้น ต่อมาได้ขายที่ดินออกไป กฎหมายกำหนดให้หักค่าใช้จ่ายเหมาตามพระราชกฤษฎีกา ออกตามความประมวลรัษฎากร ฉบับที่ 165 โดยหักค่าใช้จ่ายเหมาคิดเป็นร้อยละของราคาประเมินที่ดินตามจำนวนปีที่ถือ ครองที่ดิน ดังนี้ 

  ถือครองที่ดิน 
     1 ปี หักค่าใช้จ่ายได้ 92%
     2 ปี หักได้ 84%
     3 ปี หักได้ 77%
     4 ปี หักได้ 71%
     5 ปี หักได้ 65%
     6 ปี หักได้ 60%
     7 ปี หักได้ 55%
     8 ปีขึ้นไป หักได้ 50% 

   การ คิดคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาใช้ราคาประเมินของ เจ้าพนักงานประเมินกรมที่ดินเช่นเดียวกัน โดยหักค่าใช้จ่ายเหมาตามพระราชกฤษฎีกาข้างต้น เหลือเท่าใดให้หารด้วยจำนวนปีที่ถือครองที่ดิน (ปีที่ถือครองให้นับปี พ.ศ.ที่ได้มา สามารถดูได้ในด้านหลังโฉนดที่ดิน หากจำนวนปีที่ถือครองเกิน 10 ปี ให้นับเพียง 10 ปี) ก็จะได้ เงินได้ต่อปี หลังจากนั้นให้นำเงินได้ต่อปีไปคำนวณภาษีตามบัญชีอัตราภาษีเงินได้บุคคล ธรรมดา ผลลัพธ์ที่ได้จะเป็นจำนวนภาษีเงินได้ต่อปี หลังจากนั้นนำภาษีเงินได้ต่อปีไปคูณจำนวนปีที่ถือครองที่ดิน ก็จะได้ภาษีเงินได้ที่ต้องชำระทั้งหมดที่กรมที่ดินขณะโอนกรรมสิทธิ์

ตัวอย่าง นาย เอก ได้ซื้อที่ดินเปล่าเมื่อปี พ.ศ.2546 เพื่อจะใช้สร้างบ้านอยู่อาศัย ต่อมาได้ขายที่ดินเปล่าออกไปในปี พ.ศ.2550 ในราคา 2 ล้านบาท โดยที่เจ้าพนักงานประเมินกรมที่ดินได้ประเมินราคาขาย 2.5 ล้านบาท นายเอก จะต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่กรมที่ดินขณะโอนกรรมสิทธิ์ ดังนี้
    
    ราคาประเมินของกรมที่ดิน                                            2,500,000
    หักค่าใช้จ่าย 65% (ถือครอง 5 ปี)                                 1,625,000
    คงเหลือเงินได้หลังหักค่าใช้จ่าย                                   875,000
    หารด้วยจำนวนปีที่ถือครอง (ปี พ.ศ.= 5 ปี)                   875,000/5
    เงินได้ต่อปี                                                                   175,000
    ภาษีเงินได้ต่อปี (100,000 x 5% = 5,000, 75,000 x 10% = 7,500)       12,500
    ภาษีที่ต้องชำระทั้งสิ้น ณ กรมที่ดิน (12,500 x 5) = 62,500 บาท 

  ที่ดินที่ได้มาโดยมุ่งค้าหากำไร เช่น ซื้อที่ดินมาจัดสรรขาย เป็นต้น การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่ต้องเสียขณะโอนกรรมสิทธิ์ที่กรมที่ดิน มีวิธีคิดคำนวณเช่นเดียวกับการขายที่ดินที่มิได้มุ่งค้าหากำไร หากมีภาษีต้องชำระเกินกว่า 20% ของราคาประเมิน ก็ให้ชำระภาษีตามที่คำนวณได้ นอกจากนั้น ผู้ขายที่ดินยังมีหน้าที่ยื่นแบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปี (ภ.ง.ด. 94) และภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปีภาษี (ภ.ง.ด. 90) โดยคำนวณหักค่าใช้จ่ายตามจริงเท่านั้น ไม่สามารถหักค่าใช้จ่ายเหมาตามพระราชกฤษฎีกา ฉบับที่ 165 ได้ การคำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่ายที่เสียขณะโอนกรรมสิทธิ์ที่กรมที่ดินเป็นเพียงการ เก็บภาษีในเบื้องต้นเท่านั้น ส่วนการขายที่ดินที่ได้มาทางมรดก เสน่หา หรือได้มาโดยไม่มุ่งค้าหากำไร ผู้ขายที่ดินเลือกที่จะนำมายื่นแบบ ภ.ง.ด. 94 และ ภ.ง.ด. 90 หรือไม่ก็ได้
สำหรับการขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูก สร้าง ไม่ว่าจะเป็นบ้าน อาคารพาณิชย์ คอนโดมิเนียม ฯลฯ ก็มีวิธีคิดคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเหมือนการขายที่ดินเปล่าเช่นเดียว กันครับ
 ----------------------------------------------------------------
   ครั้งนี้เป็นตอนจบของบุคคลธรรมดาที่ขายที่ดินเปล่า นอกจากจะเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาซึ่งมีวิธีคิดในตอนที่ 1 ถึง 3 แล้ว กฎหมายได้กำหนดหลักเกณฑ์การขายที่ดินเปล่าหรือการโอนกรรมสิทธิ์อสังหาริม ทรัพย์ว่า มีกรณีใดบ้างที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ โดยท่านสามารถศึกษาได้จากพระราชกฤษฎีกา ออกตามความประมวลรัษฎากร ฉบับที่ 342
ภาษีธุรกิจเฉพาะ ประมวลรัษฎากรกำหนดให้จัดเก็บภาษีธุรกิจเฉพาะจากการขายอสังหาริมทรัพย์ใน อัตราร้อยละ 3 ของรายรับ ก่อนหักรายจ่ายใดๆ และกฎหมายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกำหนดให้จัดเก็บภาษีเพิ่มขึ้นอีกร้อย ละ 10 ของอัตราที่จัดเก็บตามประมวลรัษฎากร พูดง่ายๆ ว่าจัดเก็บจริงอัตราร้อยละ 3.3 ผู้ขาย ที่ดินเปล่าหรือขายอสังหาริมทรัพย์ต้องชำระภาษีขณะจดทะเบียน โอนกรรมสิทธิ์ที่กรมที่ดิน โดยใช้ราคาที่ซื้อขายจริงหรือราคาประเมิน ราคาใดสูงกว่าให้ใช้ราคานั้นมาคำนวณภาษี ปัจจุบันรัฐได้ลดอัตราภาษีให้เสียเพียงร้อยละ 0.10 หากรวมภาษีที่จัดเก็บให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแล้ว อัตราภาษีที่เสียจริงจะเป็นร้อยละ 0.11 ทั้งนี้จะ ต้องเป็นการโอนกรรมสิทธิ์ที่เกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ 29 มี.ค. 2552 ถึง 28 มี.ค. 2553 เท่านั้น หลังจากนั้นก็จะต้องเสียภาษีในอัตราปกติ และเมื่อชำระภาษีธุรกิจเฉพาะที่กรมที่ดินแล้ว ก็ไม่ต้องมายื่นแบบ เสียภาษีธุรกิจเฉพาะที่กรมสรรพากรอีก 

  กฎหมายได้ยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะให้กับบุคคลธรรมดาที่ขายที่ดินเปล่า หากเป็นที่ดิน ดังนี้
    การขายที่ดินหรือการถูกเวนคืนที่ดินตามกฎหมายว่าด้วยเวนคืนอสังหาริมทรัพย์
    การขายที่ดินที่ได้มาโดยมรดก
    การขายที่ดินที่มิใช่การจัดสรรที่ดินตามกฎหมาย โดยได้ถือครองที่ดินมาไม่น้อยกว่า 5 ปี
     (นับเวลาวันชนวัน) 

สำหรับการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินเปล่า โดยไม่มีค่าตอบแทนให้แก่บุตรชอบด้วยกฎหมายของตน (ไม่รวมบุตรบุญธรรม), การโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินทางมรดกให้แก่ทายาทโดยธรรมหรือผู้รับพินัยกรรม ซึ่งเป็นทายาทโดยธรรม, การโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่ส่วนราชการหรือองค์การของรัฐบาลโดยไม่มีค่าตอบ แทน และการแลกเปลี่ยนกรรมสิทธิ์ที่ดินกับส่วนราชการหรือองค์การของรัฐบาล เฉพาะกรณีที่ส่วนราชการหรือองค์การของรัฐบาลมิได้มีการจ่ายค่าตอบแทนเป็น อย่างอื่น นอกจากที่ดินที่แลกเปลี่ยน ก็จะได้รับยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะเช่นเดียวกัน
กรณี ที่บุคคลธรรมดา (ไม่รวมคณะบุคคลหรือห้างหุ้นส่วนสามัญ ที่มิใช่นิติบุคคล) ได้ขายที่ดินพร้อมที่อยู่อาศัย หากผู้ขายมีชื่ออยู่ ในทะเบียนบ้านที่อยู่อาศัยไม่น้อยกว่า 1 ปี (นับวันชนวัน) การขายบ้านและที่ดินนั้นจะได้รับยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะ หากไม่มีชื่ออยู่ ในทะเบียนบ้านนั้นและได้ถือครองมาไม่น้อยกว่า 5 ปี (นับวันชนวัน) ก็จะได้รับยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะเช่นเดียวกัน
อากรแสตมป์ การขายที่ดินเปล่าหรือขายที่ดินพร้อมที่อยู่อาศัยหรือสิ่งปลูกสร้าง จะเสียอากรแสตมป์อัตรา 1 บาทต่อวงเงิน 200 บาท หรือเศษของ 200 บาทของราคาประเมิน
ข้อสังเกต การขายที่ดินเปล่าหรืออสังหาริมทรัพย์ที่ได้เสียภาษีธุรกิจเฉพาะแล้ว จะได้รับยกเว้นอากรแสตมป์
ก็หวังว่าบุคคลธรรมดาที่ได้ขายที่ดิน เปล่าหรือได้ขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างจะได้ทราบในเบื้องต้นเกี่ยวกับภาษี ที่ต้องเสียตามประมวลรัษฎากร ในส่วนของผู้ที่จะซื้อก็นำไปใช้ต่อรองราคาซื้อขายกรณีที่ตนเองรับเป็นผู้ ชำระภาษีและค่าธรรมเนียมอื่นๆ ได้

วันพฤหัสบดีที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ความสัมพันธ์ระหว่าง “ เทคโนโลยีด้านสารสนเทศภูมิศาสตร์ ” กับ “ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ”

24-02-2012
     
    สำหรับ ในประเทศไทยนั้น การดำเนินธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ จะเป็นการพัฒนาที่ดินเพื่อเป็นที่อยู่อาศัย อาคารสำนักงานให้เช่า-ขาย ศูนย์การค้า ธุรกิจโรงแรม เซอร์วิสอพาร์ทเม้นท์ รีสอร์ท สนามกอล์ฟ และนิคมอุตสาหกรรม แต่ธุรกิจที่มีบริษัทดำเนินการมากที่สุดและมีการแข่งขันสูง คือ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เพื่อที่อยู่อาศัย โดยมีบริษัทขนาดใหญ่ที่ดำเนินการอยู่ไม่ต่ำกว่า 50 บริษัท และยังมีบริษัทขนาดเล็กหรือบริษัทผู้รับเหมาก่อสร้างอีกเป็นจำนวนมาก การดำเนินการของบริษัทต่างๆ มีตั้งแต่พื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล และพื้นที่หัวเมืองใหญ่ต่างๆ เช่น เชียงใหม่ โคราช ขอนแก่น ภูเก็ต เป็นต้น แต่พื้นที่ที่มีการแข่งขันสูงที่สุดคงหนีไม่พ้น พื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑ]

จาก ข้อมูลสรุปและวิเคราะห์สถานการณ์อสังหาริมทรัพย์ โดยศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ได้สรุปว่า ในครึ่งปีแรก ของ ค.ศ. 2009 เฉพาะในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีอัตราการโอนและเปลี่ยนมือห้องชุดคอนโดมิเนียมทั้งใหม่และมือสอง เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 20 เมื่อ เปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา จึงจะเห็นได้ว่าธุรกิจดังกล่าวยังเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคและมีโอกาสทาง ธุรกิจดีอยู่ ดังนั้น การนำเทคโนโลยีด้านสารสนเทศภูมิศาตร์ มาประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการจึงมีโอกาสสร้างความได้เปรียบเหนือคู่แข่ง อย่างมากให้แก่บริษัทหรือองค์กร

ความสัมพันธ์ระหว่างเทคโนโลยีด้านสารสนเทศภูมิศาสตร์ กับ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์
     “ เทคโนโลยีด้านสารสนเทศภูมิศาสตร์ ตามความหมายของ ศูนย์วิจัยภูมิสารสนเทศเพื่อประเทศไทย คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (http://www.gisthai.org/about-gis/gis.html) ให้ความหมายว่า ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ หรือ Geographic Information System : GIS คือ กระบวนการทำงานเกี่ยวกับข้อมูลในเชิงพื้นที่ด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งข้อมูลในเชิงพื้นที่แบบที่คนทั่วไปเข้าใจได้ง่ายๆ ก็คือ ข้อมูลที่ปรากฎบนพื้นที่ทั้งหมด ทั้งถนน แม่น้ำ เสาไฟฟ้า สถานที่สำคัญต่างๆ แม้กระทั่งอาคาร บ้านเรือน ที่เรามองเห็นโดยทั่วไปนั่นเอง โดย GIS มี หน้าที่ในการนำเข้าข้อมูลเหล่านั้น มาทำการปรับแต่งและบริหารจัดการร่วมกับข้อมูลประกอบอื่นๆ เพื่อทำการวิเคราะห์และแสดงผลออกมาในรูปแบบของแผนที่

     ความหมายของ อสังหาริมทรัพย์ คือ ที่ดินกับทรัพย์สินอันติดอยู่กับที่ดินนั้น หรือประกอบเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับที่ดินนั้น อนึ่ง คำว่าอสังหาริมทรัพย์หมายรวมถึง สิทธิทั้งหลายอันเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในที่ดินนั้นด้วย ( ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 100 ดังนั้น ที่ดินต่างๆ สามารถนำมาใช้เพื่อการเป็นที่อยู่อาศัย เพื่อการค้า หรือเพื่อก่อสร้างสาธารณูปโภคต่างๆ ได้ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ จึง เป็นการดำเนินธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาที่ดินในรูปแบบต่างๆ ทั้งการทำเป็นที่อยู่อาศัย อาคารสำนักงาน โรงแรม รีสอร์ท หรือนิคมอุตสาหกรรม เป็นต้น

     จาก นิยามดังกล่าวข้างต้นจะเห็นได้ว่า ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เป็นธุรกิจที่สามารถนำเทคโนโลยีด้านสารสนเทศ ภูมิศาสตร์และข้อมูลเชิงพื้นที่มาประยุกต์ใช้ได้ทั้งในทางตรง เช่น การค้นหา แสดงผล วิเคราะห์ตำแหน่งที่ตั้งของโครงการ เป็นต้น หรือในทางอ้อม คือ การใช้ประโยชน์จากปัจจัยทางพื้นที่ด้านอื่นๆ เช่น ความใกล้-ไกลจากเส้นทางคมนาคม การขนส่งสาธารณะ หรือแหล่งธุกิจการค้าต่างๆ เป็นต้น โดยนำมาวิเคราะห์ประกอบการตัดสินใจในการจัดทำโครงการ หรือสร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกค้าเพื่อนำไปสู่การตัดสินใจซื้อของลูกค้า เป็นต้น

 

การใช้ GIS-CAMA ในงานพัฒนาเมืองและประเมินค่าทรัพย์สิน

24-02-2012

          เมื่อจะกล่าวถึงเรื่องระบบ GIS ก็น่าจะกล่าวถึงเรื่องแผนที่ก่อน ซึ่งทุกๆ ท่านคงได้เคยใช้แผนที่มาแล้วบ้าง มากบ้างน้อยบ้าง จึงขอกล่าวถึงความสำคัญของแผนที่เป็นพื้นฐานไปก่อน การทำความเข้าใจกับระบบ GIS นะครับ
          แผนที่นั้น ถือว่าเป็นภาษาเขียนที่มีความเก่าแก่มากที่สุด สามารถใช้สื่อสารระหว่างมวลมนุษย์ได้มากที่สุด แม้ว่าเป็นมนุษย์ที่มีความแตกต่างทางด้านภาษาพูดและภาษาเขียนก็ตาม ดังนั้นถ้าแผนที่มีรายละเอียดมากและทันสมัยเพียงพอ จะเป็นเครื่องมือที่มีความสำคัญเป็นอย่างมากในการสร้างความเข้าใจในพื้นที่ต่างๆ ที่อาจใช้เพื่อการวางแผน หรือประเมินผลโครงการที่เกิดขึ้นบนพื้นที่นั้นๆ ทั้งนี้เพราะสิ่งต่างๆที่ปรากฏบนแผนที่นั้น เป็นสิ่งที่ได้จำลองขึ้นมาจากสภาพความเป็นจริงบนพื้นโลก ด้วยการย่อส่วนให้เล็กลงตามขนาดที่ต้องการแล้วแสดงด้วยเครื่องหมาย สีหรือสัญญาสักษณ์แทนสิ่งที่มีอยู่จริง ทั้งสิ่งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม ทั้งสิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติและสิ่งที่เกิดขึ้นจากการกระทำของมนุษย์
          สิ่งแสดงอยู่บนแผนที่ อาจถือได้ว่าเป็น "ข้อมูล" ของผู้ใช้แผนที่ โดยข้อมูลเหล่านี้อาจที่เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ ได้แก่ ลักษณะภูมิประเทศและธรณีวิทยา (สูง,ต่ำ,มีป่าเขา หรือหุบเหว แค่ไหน) ลักษณะภูมิอากาศ (มีความชื้น, แห้งแล้ง, ลมพัดในทิศทางใด) สภาพแหล่งน้ำ(มีความยาว,ลึก,ตื้นเพียงใด) ส่วนสิ่งที่เกิดขึ้นจากการกระทำของมนุษย์ ได้แก่ การตั้งถิ่นฐาน ลักษณะการกระจายของบ้านเรือน ถนน ตำแหน่งที่ตั้งของสถานที่สำคัญต่างๆ ส่วนสิ่งที่เป็นนามธรรม เช่น การแสดงเรื่องของความเชื่อในทางพิธีกรรม ศาสนา ค่านิยมและภาษา ที่สามารถแสดงในแผนที่ด้วยสีที่แตกต่างกัน ตามระดับความเชื่อ เป็นต้น
          นอกจากแผนที่จะแสดงตำแหน่งที่ตั้งบนพื้นโลกแล้ว ยังสามารถแสดงลักษณะเฉพาะของข้อมูลนั้นๆ ให้ผู้ใช้แผนที่ได้ทราบอีกด้วย เช่น แสดงเป็นที่ตั้ง ที่สัมพันธ์กับที่ตั้งของแหล่งข้อมูลอื่นๆ อีกทั้งยังแสดงถึงขนาด ระยะทาง ความสูง-ต่ำ รูปร่าง ตลอดจนการกระจายของข้อมูลนั้นๆ ด้วย
          นับตั้งแต่อดีต ผู้ใช้แผนที่ที่เป็นนักภูมิศาสตร์ยังได้ใช้แผนที่ในการวิเคราะห์และวัดระดับ ความสัมพันธ์ของข้อมูลประเภทต่างๆ ที่มีต่อกันอีกด้วย เช่น วัดระดับความสัมพันธ์ของตำแหน่งที่ตั้งของชุมชนกับจุดเชื่อมต่อกันของเส้น ทางคมนาคมและบริเวณที่มีแหล่งน้ำอุดมสมบูรณ์ หรือวัดระดับการกระจายของประชากรกับลักษณะภูมิประเทศ ชนิดของพืชพรรณ และการกระจายของฝน เป็นต้น โดยระดับความสัมพันธ์ของข้อมูลประเภทต่างๆเหล่านี้ สามารถสร้างเป็นแบบจำลอง(Model) ทางคณิตศาสตร์ของความสัมพันธ์ได้ด้วย ซึ่งจากแบบจำลองนี้ สามารถนำไปใช้ในการคาดการณ์ถึงปรากฎการณ์ที่จะเกิดขึ้นในพื้นที่อื่นๆ ที่มีลักษณะพื้นฐานคล้ายๆกันอีกด้วย
          ในแง่ของผู้บริหารนั้น ผู้บริหารสามารถใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาพื้นที่และการวางแผนต่างๆ เช่น การสร้างแหล่งน้ำเพื่อผลิตน้ำประปา การตั้งโรงงานผลิตกระแสไฟฟ้า การให้บริการระบบสาธารณูปโภค สาธารณูปการ การหาแหล่งกำจัดขยะ บริเวณที่เสี่ยงต่อการเกิดภัยธรรมชาติหรือเสี่ยงต่อการเกิดการก่อการร้าย เป็นต้น
          ดังนั้น "ข้อมูล" ที่ปรากฎในแผนที่หนึ่งๆ นอกจากจะต้องมีความถูกต้องทันสมัยแล้ว ยังจะต้องมีความละเอียดมากเพียงพอและเหมาะสมกับวัตถุประสงค์ของการนำเอาไป ใช้ประโยชน์ด้วย เช่น อาจนำไปใช้เพื่อการวางแผนการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน การวางแผนด้านเศรษฐกิจและสังคม การวางแผนด้านคมนาคมขนส่ง การวางผังเมืองหรือแม้กระทั่งการสร้างคลองส่งน้ำเพื่อกระจายน้ำไปยังพื้นที่ การเกษตร เป็นต้น ซึ่งแผนที่ที่มีคุณสมบัติดังกล่าวจะช่วยให้การวางแผนมีประสิทธิภาพมากยิ่ง ขึ้น
          อย่างไรก็ตาม แผนที่ที่เป็นกระดาษ ยังมีข้อจำกัดอยู่บ้าง ตัวอย่างเช่น
          • เนื่องจากพื้นที่โลกหลายแห่งมีลักษณะที่เป็น "ข้อมูล" จำนวนมาก เนื่องมีความซับซ้อนสูง โดยเฉพาะพื้นที่ในเขตเมือง ดังนั้นการแสดงสัญญาลักษณ์จำนวนมาก เมื่อจำลองความซับซ้อนเหล่านั้นลงในแผนที่แล้ว จะสร้างความสับสนในการใช้แผนที่มากขึ้น เนื่องจากมี "ข้อมูล" จำนวนมากกว่าที่สมองของมนุษย์จะรับทราบและวิเคราะห์ได้ ทำให้ผู้ใช้แผนที่นำเทคโนโลยีทางด้านระบบคอมพิวเตอร์มาเป็นเครื่องมือสร้าง แผนที่ดิจิตอล(Digital Map) และเกิดระบบ GIS ขึ้นมาเพื่อลดข้อจำกัดในส่วนนี้ โดยระบบคอมพิวเตอร์จะช่วยแบ่งข้อมูลที่มีหลากหลาย แต่ละชนิด แต่ละประเภทเป็นชั้นๆ (Layer) แล้วเลือกเปิด-ปิด หรือวิเคราะห์ ชุดข้อมูลที่จำเป็น ตามความต้องการได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งระบบ GIS นั้น นอกจากจะถือว่าเป็นแผนที่ดิจิตอล ซึ่งลดข้อจำกัดของแผนที่กระดาษลงไปได้แล้ว ระบบ GIS ยังจะช่วยเชื่อมโยงสัญลักษณ์ต่างๆ ที่ปรากฏในแผนที่ ที่อาจเป็นจุด(ตำแหน่ง) เป็นเส้นและเป็นพื้นที่ กับฐานข้อมูล เพื่อขยายความให้แก่สัญญาลักษณ์นั้นๆ มากขึ้น เพื่อใช้ในการวิเคราะห์ในเชิงตรรก(Logic) หรือทางสถิติและคณิตศาสตร์ต่อไป
          • เนื่องจากโลกมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา "ข้อมูล" ทั้งส่วนที่เป็นข้อมูลของสภาพธรรมชาติและสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น โดยข้อมูลเหล่านี้แต่ละประเภทมีอายุและวงจรของการเปลี่ยนแปลงแตกต่างกัน เช่น ปริมาณน้ำอาจเปลี่ยนแปลงไปตามฤดูกาล แต่เส้นทางหรือถนน มีการเปลี่ยนแปลง เมื่อมีงบประมาณในการปรับปรุงและพัฒนา เป็นต้น ดังนั้น การที่จะรักษาความทันสมัยของแผนที่ให้ตรงกับความเป็นจริงบนผิวโลกตลอดเวลา จึงเป็นไปได้ยากมาก
          •เรื่องของเส้นโครงแผนที่ (Map Projection) เกิดเนื่องจากการจำลองผิวโลกที่โค้ง เพราะโลกกลม มาลงแผนที่ที่แบน จึงมีความคลาดเคลื่อนไปบ้าง แต่เป็นเรื่องของทางเทคนิค ซึ่งจะไม่กล่าวไว้ในที่นี้
          จากในมุมมองแบบง่ายๆ ไม่เป็นวิชาการมากนักของผม ที่อาจมีลักษณะที่ต่างออกไปจากมุมมองของคนอื่น ดังที่ได้กล่าวไปแล้วนั้น แผนที่จึงเป็นที่มาของระบบ GIS ซึ่งเทคโนโลยีในปัจจุบัน ได้แก่ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์, เทคโนโลยีฐานข้อมูล(Data Base), เทคโนโลยีการออกแบบ(CAD/CAM) และเทคโนโลยีภาพถ่ายดาวเทียม(Satellite Imagery) สามารถตอบสนองและสนับสนุนระบบ GIS ได้เป็นอย่างดี
           อย่างไรก็ตาม ทางทฤษฎีนั้น กล่าวได้ว่า GIS คือ "ชุดของเครื่องมือประสิทธิภาพสูงที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล, การเก็บบันทึก, การเรียกใช้, การแสดง,การนำเสนอข้อมูลเชิงพื้นที่ของโลกแห่งความเป็นจริง ตามวัตถุประสงค์แต่ละประการ" (Power set of tools for collecting, storing, retrieving, transforming and displaying spatial data from real world for a particular set of purposes - P.A.Burrough. (1985). Principle of Geographical Information System for Land Resources Assessment.)
           จากที่มาและความหมายของระบบ GIS นั้น จะเห็นว่าระบบ GIS จะเป็นเครื่องมือหรือเทคโนโลยี ที่จะตอบสนองการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วของเศรษฐกิจและธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในปัจจุบัน เนื่องธุรกิจดังกล่าวมีการกระจายอยู่ในพื้นที่ที่มีทำเลและสภาพแวดล้อมที่ต่างกัน โดยใช้เป็นเครื่องมือในการบริหาร การจัดการ ตลอดจนเพื่อเป็นข้อมูลเพื่อการตัดสินใจของบุคคลทุกระดับ ตั้งแต่ผู้ประกอบการจนถึงผู้ซื้อทรัพย์สิน และเจ้าหน้าที่ของรัฐ ที่มีหน้าที่ในการควบคุมดูแลต่างๆ ดังพอจะสรุปได้ดังต่อไปนี้
          • เจ้าหน้าที่ภาครัฐ สามารถทำความเข้าใจในข้อมูลแผนที่ เพื่อใช้รองรับในเรื่องของการจดทะเบียนที่ดิน ประเมินราคาที่ดินเพื่อการเก็บภาษีโรงเรือน หรือภาษีที่ดิน การกำหนดนโยบาย การใช้ที่ดินและการวางผังเมือง เป็นต้น
          •ผู้ประกอบการ สามารถวิเคราะห์สภาพแวดล้อมในการเลือกทำเลในการก่อสร้างโครงการ ที่มีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมแก่กลุ่มลูกค้าแต่ละกลุ่ม
          •ผู้ซื้อทรัพย์สิน สามารถเข้าถึงข้อมูลสภาพแวดล้อมของโครงการก่อสร้างอสังหาริมทรัพย์ในพื้นที่ต่างๆ ได้ และสามารถเลือกซื้อและชำระค่าธรรมเนียมและภาษีได้อย่างโปร่งใสและเป็นธรรม
          ข้อมูลแผนที่ในรูปของระบบ GIS เพื่อใช้ในกิจการที่เกี่ยวข้องกับงานประเมินค่าสินทรัพย์ ดังกล่าว ควรมีข้อมูลเพื่อประกอบการตัดสินใจของทุก ดังต่อไปนี้
          •ข้อมูลตำแหน่ง ตำแหน่งที่ตั้ง ที่อยู่ ประวัติความเป็นมา รูปภาพ และรายละเอียดอื่นๆ
          •ข้อมูลรายละเอียดอื่นๆ ของผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนาและกลุ่มผู้นำอื่นๆ ที่มีอิทธิพลต่อความคิดและพฤติกรรมของชุมชน เพื่อเข้าไปทำความเข้าใจและขอความร่วมมือผ่านไปยังประชากรในท้องถิ่น
          •ข้อมูลตำแหน่งสถานที่สำคัญ สถานที่ราชการ ศูนย์การค้า ที่มีความเสี่ยงที่จะเกิดการก่อการร้าย เพื่อสะดวกในการวางแผนป้องกัน
          •ข้อมูลกระจายประชากร ครัวเรือน วัด มัสยิด โรงเรียนของศาสนาต่างๆ ว่ามีการกระจายตัวเป็นอย่างไร เพื่อที่เจ้าหน้าที่จะได้ระมัดระวังตัวในการดำเนินกิจกรรมใดๆ ในพื้นที่ที่มีลัทธิ ความเชื่อและศาสนาที่ต่างกัน
          •ข้อมูลเส้นทางต่างๆ ในทุกประเภทเพื่อใช้ในการวางแผนป้องกันและติดตามผู้ก่อการร้ายในพื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพ
          •ข้อมูลด้านเศรษฐกิจ-สังคม และวัฒนธรรมของพื้นที่ อาทิ เช่น การตั้งถิ่นฐาน ชุมชน และคุณภาพชีวิต ป่าไม้ ป่าสงวน สถานที่ราชการ และวนอุทยาน เป็นต้น
          •ข้อมูลการวิเคราะห์วิจัยด้านการท่องเที่ยว โดยแสดงแหล่งข้อมูลทางด้านแหล่งท่องเที่ยว เพื่อจัดทำแผนส่งเสริมการท่องเที่ยว ทำการวิเคราะห์วิจัยการพัฒนาการท่องเที่ยว ในระดับท้องถิ่นระดับชาติและระดับภูมิภาค
          •ข้อมูลเพื่อการพัฒนาพื้นที่อุตสาหกรรมและพาณิชยกรรมบริเวณพื้นที่ ทั้งระดับท้องถิ่น ระดับชาติ ระดับภูมิภาค ที่อาจจะพัฒนาขึ้นในบริเวณดังกล่าว รวมทั้งการพัฒนาด้านพาณิชยกรรมและที่อยู่อาศัย เพื่อเป็นข้อมูลในการวางผังแม่บทการจัดเขตอุตสาหกรรมแต่ละประเภทให้เหมาะสม
          •ข้อมูลทางด้านกายภาพ ได้แก่ อุตุนิยมวิทยา อุทกวิทยา อุทกศาสตร์ ชลศาสตร์ สมุทรศาสตร์และวิศวกรรมชายฝั่ง สภาพภูมิอากาศ อุณหภูมิ ปริมาณน้ำฝน แหล่งน้ำผิวดิน ลำน้ำธรรมชาติ กระแสลม คุณภาพน้ำทะเล ชีววิทยาทางทะเล ลักษณะของคลื่นการเคลื่อนตัวของตะกอนชายฝั่ง กระแสน้ำ ระดับน้ำ เพื่อเป็นข้อมูลในการออกแบบทางวิศวกรรมสำหรับการพัฒนาด้านต่างๆ
          •ข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อม ที่แสดงให้เห็นสภาพปัจจุบันของทรัพยากรธรรมชาติ 4 องค์ประกอบ คือ ข้อมูลสิ่งแวดล้อมทางด้านกายภาพ ซึ่งประกอบด้วย สภาพทางธรณีวิทยา คุณภาพดินและเสถียรภาพดิน คุณภาพน้ำ และอื่นๆ ข้อมูลสิ่งแวดล้อมทางด้านชีวภาพ ซึ่งประกอบด้วย ลักษณะระบบนิเวศน์และความหลากหลายทางชีวภาพ ความสัมพันธ์กันในระบบนิเวศน์ พันธุ์พืช สัตว์ป่าและสัตว์น้ำข้อมูลการใช้ประโยชน์ของมนุษย์ ซึ่งประกอบด้วย การคมนาคมขนส่ง การอุตสาหกรรม รูปแบบการใช้ที่ดิน แผนพัฒนาของภาครัฐและเอกชนที่อาจจะได้รับผลกระทบจากโครงการพัฒนาที่จะเกิดขึ้นต่อไป ข้อมูลคุณภาพชีวิต ซึ่งประกอบด้วย เศรษฐกิจ สังคม คุณภาพชีวิต รายได้ สาธารณสุข สุนทรียภาพ อาชีพการเพิ่มแรงงาน เป็นต้น รวมทั้งปฏิกิริยาของชุมชนต่อทางราชการ อุบัติเหตุการก่อเหตุร้ายและความปลอดภัย
          •จากแผนที่ที่มีข้อมูลดังกล่าว สามารถทำให้ทุกฝ่ายเข้าใจสภาพพื้นที่ใน 3 จังหวัดภาคใต้มากขึ้น ทำให้เข้าใจศักยภาพและปัญหาของพื้นที่ เพื่อที่จะได้กำหนดนโยบายการแก้ปัญหาและพัฒนาให้ถูกต้องมากที่สุดต่อไป
องค์ประกอบของการใช้งาน GIS- ตัวอย่างการใช้ GIS ในงานประเมินค่าทรัพย์สิน
นายเชาวนิจ ธนวงศ์วิบูลย์
Director, GIS/SCADA Department, AMR. Asia Company Limited

หลักการ
          Geographic Information System หรือ ภูมิศาสตร์สารสนเทศ เป็นระบบที่ได้มีการนำเทคโนโลยีด้านสารสนเทศมาประยุกต์และใช้งานร่วมกับวิชาการด้านภูมิศาสตร์ และงานด้านแผนที่ เพื่อให้เกิดมิติของการเรียนรู้และการพัฒนา ตลอดจนการวางแผนพัฒนาในด้านการเมือง สังคม และเศรษฐกิจ ตลอดจนการพัฒนาประเทศ โดย GIS จะเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์ และแสดงผล ให้ได้ผลลัพธ์ที่ชัดเจน ไม่เฉพาะแต่เพียงตัวเลข แต่สามารถแสดงผลได้ทั้งเชิงตัวเลขและเชิงภูมิศาสตร์ประกอบกัน ทำให้ง่ายต่อการเข้าใจ และสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับลักษณะงานต่าง ๆได้หลายประเภท อาทิ งานด้านผังเมือง งานด้านระบบจราจร งานด้านระบบขนส่ง ระบบโครงข่ายสื่อสาร งานสัมโนประชากร งานด้านการทหาร งานด้านการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ฯลฯ เป็นต้น
องค์ประกอบของระบบ GIS
          •Software Engine หรือ Software Development Tools
          "Software Engine เป็นส่วนประกอบของโครงสร้างของระบบ GIS ที่ Programmer สามารถนำไปใช้ประกอบในการพัฒนาเครื่องมือในการสร้างโปรแกรมทางด้าน GIS (Software Development Tools) หรือนำไปใช้พัฒนาซอฟท์แวร์ประยุกต์ (GIS Software Application) ต่าง ๆ โดยการนำไปใช้งานจะขึ้นอยู่กับลักษณะและประเภทของงาน ซึ่งจำเป็นต้องอาศัย ผู้เชี่ยวชาญของงานแต่ละประเภทเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาด้วย" "Software Engine โดยทั่วไปจะถูกนำมาปรับปรุงและพัฒนาให้ง่ายต่อการใช้งานสำหรับผู้ใช้งานโดยทั่วไป ในรูปของ Software Development Tools โดยผู้ใช้งานไม่จำเป็นต้องมีพื้นฐานในการพัฒนาโปรแกรมขั้นสูงก็สามารถที่จะพัฒนา Application ของตนเองได้ Software ที่ได้รับนิยมทั่วไปในปัจจุบัน ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ของ MapInfo, MapServer, Blue Marble Geographics, InterGraph ฯลฯ ซึ่งการใช้งานจะเหมาะสำหรับลักษณะงานโดยทั่วไป หน่วยงานสามารถที่ดำเนินการพัฒนาได้เอง โดยทำงานร่วมกับผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านที่เราต้องการทำ" "สำหรับงานขนาดใหญ่ และมีข้อมูลเป็นจำนวนมาก และมีรูปแบบการใช้งานที่มีความยุ่งยาก และซับซ้อน และต้องการความน่าเชื่อถือสูง Software ที่ได้รับความนิยม ได้แก่ SmallWorld, ESRI ฯลฯ เป็นต้น แต่มีราคาค่อนข้างสูงมาก"
          •โปรแกรมประยุกต์ (Software Application)
          "Software Application คือ โปรแกรมประยุกต์ ที่พัฒนาขึ้นจาก Software Tools โดยมีวัตถุประสงค์ตามลักษณะของการนำไปใช้งาน จากที่กล่าวข้างต้น Software Application สามารถที่จะพัฒนาเองได้หากได้รับการฝึกอบรมที่เพียงพอ และโปรแกรมไม่มีความซับซ้อนมาก แต่หากมีความยุ่งยากซับซ้อนมาก หรือต้องการความรวดเร็วในการใช้งาน ก็สามารถใช้ Software Application สำเร็จรูปที่มีอยู่ในท้องตลาดได้ หรือสามารถ Outsourcing ไปยังหน่วยงานที่มีความชำนาญเป็นผู้พัฒนาให้ได้ " "เนื่องจาก GIS Application ขึ้นอยู่กับลักษณะงานที่นำไปใช้ การเลือกใช้ Software Application สำเร็จรูปจึงต้องพิจารณาเป็นกรณี ๆไป "
          •แผนที่ดิจิตอล (Digital Map)
          "Digital Map หรือ Electronic Map ได้แก่แผนที่ที่อยู่ในรูปของ Vector Map โดยจะต้องเป็นแผนที่ที่ต้องการศึกษาหรือใช้งาน มีมาตราส่วนต่าง ๆ อาทิ 1:1,000, 1:4,000, 1:50,000, 1:250,000 เป็นต้น "
          "การจัดหาแผนที่ ได้จากการจัดซื้อโดยตรง (ถ้ามี) หรือจัดซื้อภาพถ่ายทางอากาศ และนำมา Digitize ให้อยู่ในรูปของ Vector หรือ Shape file แต่ก่อนที่จำสามารถนำแผนที่มาใช้งานได้ต้องมีการออกสำรวจพิ้นที่เพื่อทำการตรวจสอบชื่อ ตำแหน่ง ของสถานที่ที่จะมีการกำหนดลงบนแผนที่เสียก่อน เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้อง "
          "การจัดหาแผนที่อีกวิธีหนึ่งได้แก่ การทำการสำรวจโดยตรง ซึ่งวิธีหลังนี้จะมีค่าใช้จ่ายที่สูงมาก และความคลาดเคลื่อนของข้อมูลค่อนข้างสูงมากด้วยเช่นกัน "
          •ระบบฐานข้อมูล (Database System)
          "ระบบฐานข้อมูล (Database System) ที่ใช้ในงาน GIS มีลักษณะเช่นเดียวกับระบบฐานข้อมูลในระบบอื่นๆทั่วไป การจัดการระบบข้อมูลขึ้นอยู่กับลักษณะการออกแบบ และวิธีการจัดการข้อมูล แต่โดยทั่วไปแล้วจะมีลักษณะที่ไม่แตกต่างกันมากนัก "
          "ระบบฐานข้อมูลที่เป็นที่นิยมกันแพร่หลาย ได้แก่ ระบบฐานข้อมูลของ Oracle, Informix (ปัจจุบันได้ถูกบริษัท IBM ซื้อไปเป็นส่วนหนึ่งของ IBM แล้ว), SQL Server, DB2 ฯลฯ ซึ่งแม้แต่ Microsoft Access ซึ่งเป็นระบบฐานข้อมูลขนาดเล็กก็สามารถนำมาใช้งานได้ หากระบบ GIS ที่ต้องการมีขนาดจำกัด และเป็นลักษณะการใช้งานแบบ Stand alone "
          •ข้อมูล (Data)
          "Data หรือข้อมูล สำหรับงานระบบ GIS ประกอบด้วย 2 ชนิด ได้แก่ ข้อมูลด้านแผนที่ และข้อมูลที่ใช้กับ Application อาทิ กรณีนำ GIS ไปใช้กับงานด้านการจราจร จะต้องมีข้อมูลด้านการจราจรอาทิ รายชื่อถนน ซอย จำนวนรถยนต์ ประเภทของรถยนต์ ฯลฯ ที่จำเป็นและต้องใช้ประกอบการพิจารณางานด้านการจราจร หรือการนำ GIS ไปใช้งานด้านการประเมินอสังหาริมทรัพย์ จะต้องมีข้อมูลด้านราคาที่ดิน ราคาค่าสิ่งปลูกสร้าง แนวเวนคืน สีผังเมือง ฯลฯ เป็นต้น "
          "ค่าใช้จ่ายในการเก็บข้อมูล และปรับปรุงข้อมูลให้ทันสมัยอยู่เสมอ ค่อนข้างสูงและใช้เวลาในการดำเนินการมาก โดยเฉลี่ยสำหรับงานที่เก็บข้อมูลบนพื้นดิน ที่มาตราส่วน 1:4,000 มีค่าใช้จ่ายประมาณ 15,000 บาทต่อตารางกิโลเมตร การ Survey เพื่อเก็บข้อมูลจะมีค่าใช้จ่ายแปรตามปริมาณและประเภทของข้อมูล ซึ่งอาจมีค่าใช้จ่ายสูงถึงกว่า 100,000.-บาทต่อตารางกิโลเมตร "
          •เครื่องคอมพิวเตอร์ Computer Hardware
          Computer Hardware for PC ควรมีคุณสมบัติขั้นต่ำดังต่อไปนี้
          •Intel Pentium IV Processor, 1 GHz, System bus 133 MHz
          •RAM Not less than 256 MB
          •Hard disk 40GB at the speed 7,200 rpm.
          •1.44 MB, 3.5" Floppy Disk Drive 1 set
          •CD-ROM Drive 48x 1 set
          •Network Interface card, PCI, 10/100 BaseTX 1 set
          •Graphic Controller Card : AGP Type speed not less than 4x, 3D
          •with 32 MB minimum menomry
          •17" Color Monitor, resolution 1280x1024 Pixels, MPR II standard
          Computer Hardware for Serve ควรมีคุณสมบัติขั้นต่ำดังต่อไปนี้
          •Intel Pentium III processor speed not less than 1 GHz, System bus 133 MHz
          •ECCDDR : 512 MB or better, expandable up to 2 GB
          •Ultra III SCSI Hard disk, Internal RAID with Hot Swap, 3x36 GB 7200 rpm
          •1.44 MB, 3.5" Floppy Disk Drive 1 set
          •CD-ROM Drive 48x 1 set
          •DDS-4 Back up drive, 20/40 GB 1 drive
          •Network Interface card, PCI, 10/100 BaseTX 1 set
          •Graphic Controller: 4 MB
          •Expansion slot: PCI 4 slots
          •17" Color Monitor, resolution 1280x1024 Pixels, MPR II standard
การอภิปราย "การใช้ GIS-CAMA ในงานพัฒนาเมืองและประเมินค่าทรัพย์สิน
นายแคล้ว ทองสม
ผู้อำนวยการส่วนมาตรฐานประเมินราคาทรัพย์สิน กรมธนารักษ์

          การใช้ GIS เพื่อประเมินราคาทรัพย์สินคราวละมากแปลง
          1. บทนำ
          กรมธนารักษ์ได้วางยุทธศาสตร์ด้านการประเมินราคาที่ดินรายแปลงให้ ครบ 28 ล้านแปลงภายใน 12 ปี เพื่อนำราคาประเมินที่ดินไปใช้สำหรับเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิ และนิติกรรมและภาษีอากรที่เรียกเก็บจากการโอนอสังหาริมทรัพย์ และในอนาคตจะนำไปใช้เป็นฐานภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างหรือภาษีทรัพย์สิน ฉบับใหม่ที่รัฐบาลจะนำมาบังคับใช้ในเร็วๆนี้ เพื่อให้ท้องถิ่นใช้แทนภาษีบำรุงท้องที่และภาษีโรงเรือนและที่ดิน
          ราคาประเมินที่ดินรายแปลงนอกจากใช้เก็บภาษีและค่าธรรมเนียมแล้ว ยังเป็นโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่สำคัญที่ประชาชน หน่วยราชการให้ความสนใจและต้องการเข้าถึงข้อมูลที่มีรายละเอียดมากขึ้น ซึ่งกรมธนารักษ์ผู้รับผิดชอบจะต้องแสดงความโปร่งใส ความรับผิดชอบต่อผลงานและความพร้อมที่จะให้ตรวจสอบ วิธีการหนึ่งที่สามารถรองรับบริบทดังกล่าวคือระบบคอมพิวเตอร์ช่วยประเมิน ราคาโดยสร้างแบบจำลองประเมินราคาที่ดินบนฐานข้อมูล GIS หรือเรียกว่าระบบ Interactive CAMA-GIS (Computer assisted Mass Appraisal-Geographic Information System) ซึ่งเป็นระบบที่มีประสิทธิภาพสูงมากเเหมาะสมกับยุทธศาสตร์กรมธนารักษ์แต่การ จะนำระบบดังกล่าวมาใช้ กรมนารักษ์ ต้องได้รับการสนับสนุนแผนที่ระบบดิจิทัลและข้อมูลราคาซื้อขายจากกรมที่ดิน
           
2. โครงสร้างระบบ Interactive CAMA-GIS


          จากแผนภูมิข้างต้นข้อมูลเกี่ยวกับทรัพย์สินจากสำนักประเมินราคา ทรัพย์สินและข้อมูลแผนที่และทะเบียนที่ดินระบบดิจืทัลจากสำนักงานที่ดิน จะมารวมกันบนระบบ GIS ซึ่งสามารถแสดงข้อมูลต่างๆ เช่น ประเภททรัพย์สิน อายุ วันที่ซื้อขาย ราคาขาย พื้นที่อาคาร จำนวนห้องนอน สภาพอาคาร ขนาดที่ดิน ชื่อถนน เลขที่บ้าน ที่อยู่ทางไปรษณีย์ ข้อมูลดังกล่าวสามารถแสดงในแผนที่ แสดงโค้ตสีของต่างๆ GIS ยังเป็นเครื่องมือที่สามารถสั่งให้วิเคราะห์ตามความต้องการเช่น "ให้แสดงทรัพย์สินที่มีมูลค่าต่ำกว่า 1,000,000 บาท ที่มีการซื้อขายเมื่อปีที่แล้ว" นอกจากนั้น GIS ยังสามารถวิเคราะห์เกี่ยวกับอิทธิพลของที่ตั้งของ CAMA Model เช่น
          1. การจัดกลุ่มตามพื้นที่ (Geographic Stratification) และสร้าง CAMA Model ตามพื้นที่โดยอาศัยเขตธรรมชาติและถนน
          2. การจัดกลุ่มตามลักษณะทรัพย์สิน (Cluster Analysis) เช่น บ้านเดี่ยว ทาวน์เฮาส์ และสร้าง CAMA Model ในแต่ละกลุ่ม (Submarket)
          3. วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างมูลค่าทรัพย์สินกับระยะทางจากศูนย์กลางเมือง GIS จะสามารถบอกระยะห่างจากศูนย์กลางเมืองไปยังที่ดินแต่ละแปลงแล้วนำไปสร้าง CAMA Model
          3. CAMA ในแต่ละประเทศ
          เทคนิคพื้นฐานที่ทุกประเทศนิยมใช้คือเริ่มด้วย Indexation แล้วพัฒนามาเป็นการวิเคราะห์การถดถอยพหุ (Multiple Regression Analysis: MRA) ในปัจจุบันกลุ่มกลุ่มอาเซียนยังนิยมใช้เทคนิค Indexation ส่วนกลุ่มประเทศยุโรปและอเมริกานิยมใช้เทคนิคการวิเคราะห์เปรียบเทียบราคา ขาย (Comparable Sales Analysis: CSA) และเทคนิค Adaptive Estimation Procedure: AEP ส่วนเทคนิคใหม่ล่าสุดคือ Artificial Neural Networks: ANN สำหรับเทคนิคของแต่ละประเทศมีรายละเอียดดังนี้

ประเทศ
หน่วยงาน
เทคนิค
ออสเตรเลีย (ควีนแลนด์) กรมที่ดิน MRA
สวีเดน --- MRA
นอร์ทไอแลน์ กรมที่ดิน และประเมินราคาทรัพย์สิน MRA, ANN CSA
ทัสมาเนีย กรมประเมินราคาทรัพย์สิน MRA, AEP
นิวซีแลนด์ กรมประเมินราคาทรัพย์สิน MRA
สิงคโปร์ สำนักงานกลางประเมินราคาทรัพย์สิน Indexation
ฮ่องกง กรมประเมินราคาและภาษีท้องถิ่น MRA, Indexation
มาเลเซีย สำนักงานประเมินราคาทรัพย์สิน Expert
สหรัฐอเมริกา สำนักงานประเมินภาษีทรัพย์สิน MRA, AEP, CSA
บริติชโคลัมเบีย สำนักงานกลางประเมินภาษีทรัพย์สิน MRA
เนเธอร์แลนด์ - CSA
          4. CAMA ในประเทศไทย
           สำนักประเมินราคาทรัพย์สินได้ริเริ่มนำคอมพิวเตอร์มาช่วยประเมินราคา ทรัพย์สินครั้งแรกเมื่อปี 2542 ในเขตพื้นที่ลาดพล้าว(บางส่วน) และขยายเต็มพื้นที่ในปี 2544 ภายใต้โครงการพัฒนาที่ดินและเร่งรัดออกโฉนดที่ดินทั่วประเทศ การประเมินราคาที่ดินได้ใช้วิธีเปรียบเทียบราคาราคาตลาดสำหรับประเมินราคา คราวละมากแปลง ประกอบด้วยเทคนิค 4 วิธี คือ MRA model, Weighted MRA Model, Comparison Adjustment Model และ Nearest Neighbour Model และสรุปว่าเทคนิคที่เอื้อต่อการควบคุมคุณภาพงานประเมินราคาตามหลักสากลมาก ที่สุดคือวิธี Comparison Adjustment Model มูลค่าทรัพย์สินที่ประเมินออกมาจะเป็นมูลค่ารวมที่ดินพร้อมและสิ่งปลูกสร้าง หลังจากได้มีการปรึกษาหารือกับกรมที่ดินว่าสามารถนำราคาประเมินราคาที่ดิน พร้อมสิ่งปลูกสร้างไปใช้กำหนดราคาประเมินทุนทรัพย์ได้หรือไม่ ปรากฏว่าตามระเบียบของคณะกรรมการกำหนดราคาประเมินทุนทรัพย์ พ.ศ. 2530 ได้กำหดให้แยกราคาประเมินที่ดินกับสิ่งปลูกสร้างออกจากกัน ส่วนขนาดและสิ่งปลูกสร้างเจ้าหน้าที่คำนวณราคาทุนทรัพย์จะต้องใช้วิธีสอบถาม ขอจดทะเบียนเท่านั้น เทคนิคที่ได้ริเริ่มไว้จึงต้องรอให้มีพระราชบัญญัติประเมินมูลค่าทรัพย์สิน ก่อนจึงจะสามารถนำไปใช้ได้
          ปี 2544 สำนักประเมินราคาทรัพย์สินได้ทดลองจัดทำระบบ GIS เพื่อจัดกลุ่มทรัพย์สินเพื่ออำนวยความสะดวกในการปรับราคาประเมินที่ดินรายแปลงรอบถัดไป (Revaluation เช่นกลุ่มพาณิชยกรรมใช้รหัส B01-B61 กลุ่มที่อยู่อาศัยใช้รหัส R01-R92 แต่ละกลุ่มจะแยกพื้นที่โดยใช้สีเป็นสัญลักษณ์
          ปี 2546 ได้มีการพัฒนาระบบการประเมินราคาที่ดินรายแปลงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพความ โปร่งใส และความพร้อมในการให้ตรวจสอบโดยนำระบบ CAMA มาใช้ประเมินที่ดินเพียงอย่างเดียว (Land Value) โดยใช้แนวทางในอดีตของประเทศสหรัฐอเมริกา อังกฤษ ออสเตรเลีย และ นิวซีแลนด์ ซึ่งกำหนดให้กำหนดมูลค่าที่ดินแปลงมาตรฐาน (Standard lot) ที่ความลึกมาตรฐาน (Standard Depth) เป็นมูลค่าต่อตารางวา ซึ่งเรียกว่ามูลค่าถนน (Street Value) และได้สร้างตารางอัตราส่วนมูลค่าที่ดินต่อหน่วยตามระยะความลึก (Decrease Ratio by Depth: DRBD) และตารางปรับแก้รูปแปลงที่ไม่ปกติ (Modification Ratio) เพื่อคำนวณราคาที่ดินเป็นรายแปลงด้วยคอมพิวเตอร์โปรแกรม Microsoft Access เมื่อประมวลผลเสร็จก็จะโอนประเมินที่ดินรายแปลงเข้าสู่ฐานข้อมูล (โดยไม่ต้องกรอกด้วยมือ) ที่พร้อมจะจัดพิมพ์บัญชีกำหนดราคาประเมินเพื่อประกาศใช้ต่อไป
          ปี 2547 กรมธนารักษ์ได้วางแผนยุทธศาสตร์ที่จะขยายพื้นที่ประเมินราคาที่ดินราย แปลงออกไปให้ครอบคลุมทั่วประเทศภายใน 12 ปี นับเป็นเป้าหมายที่ท้ายสำนักประเมินราคาทรัพย์สินเป็นอย่างมากด้วยอัตรา กำลังที่มีอยู่เพียง 200 คน และคาดว่ารัฐบาลจะสนับสนุนกำลังคนเพิ่มเพียงไม่เกิน 100 คนในปี 2548 เมื่อกำลังคนมีอยู่อย่างจำกัดที่จะต้องทำเป้าหมายตามยุทธศาสตร์แต่ต้องไม่ ลืมงานรอง ที่ตามมาคือการปรับราคาประเมินที่ดินรายแปลงทุกๆ 4 ปี ซึ่งในอดีตต้องใช้อัตรากำลังพอๆกับการขยายพื้นที่ประเมินราคที่ดินรายแปลง กรมธนารักษ์ได้มีนโยบายให้สำนักประเมินราคาทรัพย์สินสร้างระบบการวัดผลผลิต (Productivity) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้มากขึ้นทั้งประเมินราคารายแปลงครั้งแรก (Valuation) และปรับราคาประเมินครั้งต่อไป (Revaluation) โดยเฉพาะภารกิจการปรับราคาประเมินที่ดินรายแปลงกรมธนารักษ์มีนโยบายที่จะให้ ภาคเอกชนเข้ามาช่วยดำเนินการในบางขั้นตออน ได้แก่การจัดกลุ่มทรัพย์ (Stratification) ตามตลาดย่อย (Submarket) กำหนดแปลงที่ดินที่เป็นตัวแทนในแต่ละกลุ่ม (Benchmark) สร้างอัตราส่วนมูลค่าที่ดินทุกแปลงในตลาดย่อยกับแปลงตัวแทน (Benchmarking Ratio) การวิเคราะห์อัตราเปลี่ยนแปลงราคาที่ดินในแต่ละกลุ่มโดยเทคนิค A/S Ratio Study เพื่อสร้างดัชนีปรับราคา (Indexing) แล้วเขียนคำสั่งปรับราคาประเมินในฐานข้อมูล การวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงราคาประเมินที่ดินจะเป็นการวิเคราะห์เชิงพื้นที่ (Spatial Analysis) ซึ่งเป็นกระบวนการบนระบบ GIS
          5. การเตรียมความพร้อมเพื่อนำระบบ CAMA-GIS มาใช้
           กลยุทธ์ที่เหมาะสมกับยุทธศาสตร์ของกรมธนารักษ์ด้านขยายพื้นที่ประเมินราคาที่ดินรายแปลงทั่วประทศ คือ นำระบบ CAMA-GIS มาใช้จึงต้องเตรียมความพร้อมอย่างน้อย 3 ด้าน คือแผนที่และข้อมูลทะเบียนที่ดินระบบดิจิทัล ฐานข้อมูลราคาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์และสร้างความเชี่ยวชาญด้านการประเมินราคาคราวละมากแปลง
           5.1 ระบบแผนที่และข้อมูลที่ระบบดิจิทัล การประเมินราคาที่ดินรายแปลงจะต้องอาศัยแผนที่แสดงรูปแปลงที่ดินจากกรม ที่ดิน เรียกว่า "แผนที่ระวาง"ซึ่งขณะนี้ยังมี 2 ระบบคือ แผนที่ระวางศูนย์กำเนิดมาตราส่วน 1:4000 จัดทำบนกระดาษบุด้วยผ้าสภาพชำรุดเป็นส่วนมาก เมื่อมีการแบ่งแปลงที่ดินเล็กลงเรื่อยๆจะไม่สามารถลงในแผนที่แผนที่แผ่นเดิม ได้จึงต้องมีแผ่นขยายแนบไว้ด้านหลังแผนที่ดังกล่าวตอบสนองวัตถุประสงค์หลัก เพื่อออกโฉนดที่ดินเท่านั้น แต่ไม่เหมาะที่จะใช้ประเมินราคาที่ดินรายแปลง เพื่อใช้ในการจัดเก็บภาษีของเทศบาลและองค์กรบริหารส่วนตำบล กรมการปกครองและกรมที่ดินจึง ตกลงกันมอบสำเนาแผนที่ระวางศูนย์กำเนิดให้ท้องถิ่นให้ท้องถิ่นไปจัดทำแผนที่ ภาษีโดยใช้มาตราส่วน 1:1000 โดยรวมที่ดินทุกแปลงไว้ในแผ่นเดียว แต่ปัญหาที่ตามมาคือท้องถิ่นไม่มีอัตรากำลังที่เพียงพอที่จะปรับปรุบแผนที่ ให้เป็นปัจจุบัน สำนักประเมินราคาทรัพย์สินเองก็ได้อาศัยแผนที่ภาษีของท้องถิ่นอื่นมาใช้ เป็นแผนที่ประกอบบัญชีราคาประเมินที่ดินรายบล็อก แต่ไม่สามารถนำมาใช้ประเมินราคาที่ดินรายแปลงเพราะจำนวนแปลงที่ดินไม่ครบ ถ้วนจากโครงการนำร่องประเมินราคาที่ดินรายแปลงเขตเทศบาลเมืองบางบัวทอง (2546) พบว่าแผนที่ภาษีจำนวนที่ดิน 8,000 แปลง แต่ความจริงมีถึง 19,000 แปลง
           ระหว่างปี 2528-2547 กรมที่ดินได้มีโครงการเร่งรัดออกโฉนดที่ดินทั่วประเทศภายใน 20 ปี ได้เปลี่ยนระบบแผนที่ระวางศูนย์กำเนิดมาเป็นระวางแผนที่ ยู.ที.เอ็ม. (Universal Transverse Mercator: UTM) โดยเน้นพื้นที่นอกเขตชุมชนเป็นหลัก ส่วนในเขตชุมชนเพียงบางแห่งเท่านั้นที่ได้ปรับปรุงระวางศูนย์กำเนิดให้เป็น ระวาง ยู.ที.เอ็ม. เช่น กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ปัญหาที่ตามมาคือพื้นที่ชุมชนเมืองที่จะขยายพื้นที่ประเมินราคารายแปลง ต้องมีระวาง ยู.ที.เอ็ม. และมีข้อมูลทะเบียนที่ดินเป็นดิจิทัลไม่เพียงพอที่จะขยายพื้นที่ออกไปตาม ยุทธศาสตร์ ความจริงกรมที่ดินได้เริ่มเห็นความสำคัญของแผนที่ ระวาง ยู.ที.เอ็ม. ว่าเป็นข้อมูลพื้นฐานสำคัญในการพัฒนาประเทศ จึงได้ของบประมานเพื่อดำเนินการจัดทำศูนย์ข้อมูลที่ดิน (Land Information System) ประกอบด้วยแผนงานจัดทำแผนที่ระวางจากกระดาษเป็นดิจิทัล และนำเข้าข้อมูลทะเบียนที่ดินทุกแปลงในคอมพิวเตอร์โดยของบประมาณ 8,000 ล้านบาทได้อนุมัติเพียง 182 ล้านบาทเพื่อให้ทำต้นแบบที่จังหวัดเชียงใหม่ในปี 2547-2548 ส่วนที่เหลือให้กลับไปบูรณาการระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อไม่ให้ซ้ำ ซ้อนกัน จึงได้เกิดโครงการจัดทำข้อมูลที่ดินแบบบูรณาการ (Integrated Land Information System) ระหว่าง 4 หน่วยงานคือ กรมที่ดิน กรมธนารักษ์ กรมโยธาธิการและผังเมือง และการส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น ขณะนี้ได้แต่งตั้งคณะทำงานร่วมแล้วอยู่ระหว่างจัดทำบันทึกข้อตกลงร่วมกันและ เสนอแผนงานไปยังรัฐบาลเพื่อขออนุมัติบประมาณร่วมทั้ง 4 กรมในคราวเดียวกัน และ ได้กำหนดเวลาแล้วเสร็จไม่เกิน 5 ปี
           5.2 ระบบข้อมูลราคาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ทั่วประเทศ กรมธนารักษ์และกรมที่ดินได้บันทึกข้อตกลงว่าด้วยข้อมูลเพื่อเช่าจัดทำบัญชี กำหนดราคาประเมินทุนทรัพย์เมื่อเดือนเมษายน 2547ข้อมูลราคาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์เป็นส่วนหนึ่งในข้อตกลงนั้น กรมธนารักษ์ได้อำนวยความสะดวกให้กรมที่ดิน โดยจัดพิมพ์แบบบันทึกการประเมินราคาทรัพย์สิน (ทด.86) แบบสำเนาในตัวส่งให้สำนักงานที่ดินใช้ปีละประมาน 700,000 แปลง เฉพาะการจดทะเบียนซื้อขายเท่านั้น แบบพิมพ์ดังกล่าวได้เริ่มใช้ในเดือนเมษายน 2547 สำนักกรมที่ดินจำกัดเป็นผู้รวบรวมสำเนาส่งมอบให้สำนักงานธนารักษ์พื้นที่ เป็นรายเดือนเพื่อนำเข้าข้อมูลในระบบคอมพิวเตอร์ของธนารักษ์พื้นที่ แล้วส่งข้อมูล On-Line ผ่านระบบ VPN มาจัดเก็บในฐานข้อมูลของกรมธนารักษ์เมื่อมารวมกับ GIS ก็จะสามารถวิเคราะห์ติดตามการเปลี่ยนแปลงราคาทรัพย์และพัฒนา CAMA-GIS ต่อไป
           5.3 การสร้างความเชี่ยวชาญด้านการประเมินราคาคราวละมากแปลง กรมธนารักษ์จะแสดงความร่วมมือกับภาคเอกชนภายในประเทศ และองค์กรระหว่างประเทศที่มีความเชี่ยวชาญด้านดังกล่าวซึ่งในเดือนกรกฎาคมจะ เชิญภาคเอกชนภายในประเทศที่มีความเชี่ยวชาญด้านGIS และ CAMA มาชี้แจงแนวนโยบายของกรมธนารักษ์ที่จะให้ภาคเอกชนเข้าร่วมงานประเมินรา ที่ดินรายแปลงและปลายเดือนสิงหาคมจะส่งผู้บริหารระดับสูงของกรมธนารักษ์เข้า ร่วมประชุม IAAO's70 annual International Conference on Assessment Administration ที่นครบอสตัน สหรัฐอเมริกา
การใช้โปรแกรมสารสนเทศภูมิศาตร์
นายวีระพงษ์ บุญญานุสนธิ์
ผู้อำนวยการกองนิติการ กรมโยธาธิการและผังเมือง
           งานพัฒนาเมืองที่ดี เริ่มต้นที่การวางผังและวางแผน (Planning) เมื่อมีการวางผังและวางแผนแล้วจะต้องมีการจัดลำดับความสำคัญก่อนหลัง (Priority) ในการพัฒนา จึงนำมาจัดทำแผนปฏิบัติการ (Strategy Planning) และลงมือพัฒนา (Development)
           กรมโยธาธิการและผังเมือง และเจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจหน้าที่ในการวางและจัดทำผังเมืองรวมและผังเมืองเฉพาะตามพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2518 ซึ่งกรมฯ ได้เริ่มนำระบบ (G.I.S) มาใช้ในการวางและจัดทำผังเมืองโดยเริ่มโครงการตั้งแต่ปี 2540 ซึ่งได้มีการว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาออกแบบระบบและพัฒนาวิชาการวางผังเมืองโดยการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศภูมิศาสตร์ (G.I.S) ดังนี้
           1. กระบวนการวางผังเมืองด้วยระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์
          2. การออกแบบฐานข้อมูลเพื่อการวางผังเมือง
          3. การออกแบบระบบโปรแกรมปะยุกต์
          4. คู่มือการใช้งานและฝึกอบรมโปรแกรมประยุกต์เพื่อการวางผังเมือง
          เมื่อกรมฯ ได้พัฒนารูปแบบวิธีการวางและจัดทำผังเมืองโดยระบบ G.I.S ครบถ้วนสมบูรณ์แล้ว ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากระบบดังกล่าวคือ
          1. ประโยชน์ต่างหน่วยงานภาครัฐ
          - ส่วนกลาง หน่วยงานของรัฐซึ่งเป็นผู้ใช้ประโยชน์ที่ดินและผู้ใช้ข้อมูลดังกล่าวในการพัฒนา เช่น หน่วยงานจัดทำสาธารณูปโภคและสาธารณูปการและบริการสาธารณะต่าง ๆ สำนักประเมินราคาทรัพย์สิน
          - ส่วนภูมิภาค จังหวัด


อำเภอ
          - องค์กรของรัฐต่าง ๆ--การเคหะแห่งชาติ สำนักประเมินราคาทรัพย์สิน คณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลาง คณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัด กรมโรงงานอุตสาหกรรม
          - องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
          2. ภาคเอกชน
           - ผู้ประกอบการธุรกิจอสังหาริมทรัพย์
           - ผู้ประเมินค่าทรัพย์สิน
นายทรงเดช ดารามาศ
ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายประเมินราคาหลักทรัพย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์
           ระบบ GIS (Geographic Information System)
           ระบบ GIS (Geographic Information System) กล่าวอย่างง่าย คือ การนำข้อมูลแผนที่ที่เป็น Digital มาเชื่อมกับข้อมูลที่เป็นตัวอักษร (Text) และข้อมูลที่เป็นรูปภาพ สามารถเชื่อมโยงถึงกันได้ แสดงผลเชื่อมต่อกันได้
           งานประเมินค่าทรัพย์สิน
           งานประเมินค่าทรัพย์สิน ที่จะสามารถสะท้อนมูลค่าของทรัพย์สินได้ดี จะต้องประกอบด้วย
           1. บุคลากร ผู้ประเมินค่าทรัพย์สินต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ และมีประสบการณ์ด้านการประเมิน
           2. วิธีการประเมิน ต้องเป็นวิธีการที่เป็นสากล เหมาะสมที่จะใช้กับทรัพย์สินที่จะประเมิน
           3. ข้อมูลประกอบการประเมิน การประเมินค่าทรัพย์สินต้องมีข้อมูลประกอบการประเมิน
           การนำระบบ GIS มาใช้ในงานประเมินค่าทรัพย์สิน
          1. ข้อมูลในระบบ GIS กับงานประเมินค่าทรัพย์สิน การนำระบบ GIS มาใช้ในงานประเมินค่าทรัพย์สิน สามารถทำได้ดังนี้
               1.1 ตำแหน่งที่ตั้งทรัพย์สินที่จะประเมิน และตำแหน่งที่ตั้งของข้อมูลประกอบการประเมิน ในการประเมิน ผู้ประเมินจะต้องทราบตำแหน่งที่ตั้งทรัพย์สินที่จะประเมิน ว่าตั้งอยู่ที่ใด มีสภาพแวดล้อมต่าง ๆ เป็นอย่างไร และในบริเวณใกล้เคียงมีข้อมูลประกอบการประเมินอย่างไรบ้าง ระบบ GIS สามารถแสดงตำแหน่งที่ตั้งของทรัพย์สินที่จะประเมินและแสดงตำแหน่งที่ตั้งของข้อมูลประกอบการประเมินได้
               1.2 รายละเอียดของข้อมูลที่จะใช้ประกอบการประเมิน ระบบ GIS สามารถเก็บข้อมูลรายละเอียดของข้อมูล รายละเอียดของข้อมูลที่จะใช้ประเมินเป็นคำบรรยายที่เป็นตัวอักษรได้ (TEXT) ตามที่กำหนด ทำให้ผู้ประเมินทราบรายละเอียดต่าง ๆ ของข้อมูลที่จะใช้ประกอบการประเมินได้
               1.3 ภาพถ่ายหรือผังแปลงคงหรือผังโครงการของทรัพย์สินที่จะประเมิน ระบบ GIS สามารถแสดงรายละเอียดของภาพถ่ายหรือผังแปลงคงหรือผังโครงการของทรัพย์สินที่ จะประเมินได้ ทำให้ผู้ประเมินทราบรายละเอียดของทรัพย์ได้ชัดเจนรวดเร็ว
          การแสดงผลการค้นหาของระบบ GIS สามารถแสดงได้เป็นรายข้อมูลหรือเป็นชุดข้อมูล อย่างรวดเร็วและสามารถเชื่อมโยงกันได้ระหว่างข้อมูลแผนที่+ข้อมูลตัว อักษร+ข้อมูลรูปภาพหรือผังต่าง ๆ
          2. การนำระบบ GIS มาใช้ในแต่ละขั้นตอนงานประเมิน
               2.1 ก่อนออกสำรวจทรัพย์สินที่ประเมิน ระบบ GIS จะทำให้ผู้ประเมินสามารถเตรียมตัวก่อนออกไปประเมินได้ โดย
               - ดูที่ตั้งทรัพย์สินที่จะประเมินจากแผนที่ เพื่อไปให้ถูกที่ ไปถึงที่ตั้งทรัพย์ได้รวดเร็ว
               - ดูข้อมูลราคาทรัพย์สินที่เคยประเมินแล้วในบริเวณใกล้เคียงกับที่ตั้งทรัพย์ที่จะประเมิน เพื่อประโยชน์ในการหาข้อมูลเพิ่มเติมในพื้นที่
               2.2 เมื่อสำรวจทรัพย์มาแล้ว ในขั้นตอนประเมิน สามารถใช้ระบบ GIS ได้โดย
               - Print แผนที่จากระบบ GIS เพื่อทำแผนที่แสดงตำแหน่งที่ตั้งทรัพย์สินที่จะประเมิน โดยไม่ต้องเขียนแผนที่ใหม่ หรือเขียนเพิ่มเติมเพียงเล็กน้อย
               - หาข้อมูลที่จะใช้ประกอบการประเมินได้จากฐานข้อมูลที่จัดเก็บเอาไว้ในระบบ
               - ใช้ Program การประเมินราคา ในการประเมินราคาทรัพย์สินได้
               - ออก Report การประเมินราคาทรัพย์สินได้ จากการ Key ข้อมูลลงในระบบ
               2.3 การอนุมัติรายงาน
               - ส่งผลการประเมินตามระบบ Online ให้ผู้มีอำนาจ ตามลำดับชั้นตรวจสอบได้
               - จัดเก็บเป็นฐานข้อมูลเพื่อการประเมินและการตรวจสอบต่อไป